คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป
คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตึกสูง งานถนน พื้นโรงงาน และลานจอดรถ ที่มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และค่าการพัฒนากำลังที่เหมาะสมต่อการก่อ สร้างโครงสร้างทั่วไป ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวขนาดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด ข้อแนะนำ 1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน … Read More
ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ในโรงงาน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ด
ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) มาตรฐาน มอก. โรงงานใน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์น ซีบอร์ด แห่งที่ 3 จังหวัดสระบุรี จะนวน 200 ต้น ตุลาคม 2559
หลักการหนึ่งในการวางเสาเข็มเจาะ (การวาง DOWEL BAR)
+สอบถามราคาเสาเข็มได้ที่ สวัสดีครับแฟนเพจทุกๆ ท่าน พบกันอีกครั้งในเย็นวันศุกร์สุดท้ายของเดือนกันยายนนะครับ วันนี้แอดมินตั้งใจจะมาเล่าถึงหลักการหนึ่งในการวางเสาเข็มเจาะมาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านกันนะครับ หลักการที่ว่านั่นก็คือ การวาง DOWEL BAR ที่บริเวณหัวของเสาเข็ม นั่นเองครับ ก่อนจะลงลึกในรายละเอียดต้องถามเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านก่อนว่า DOWEL BAR คืออะไร ? DOWEL BAR หรือ เหล็กเดือย ที่มีความยาวโผล่พ้นขึ้นมาจากระดับยอดบนสุดของเสาเข็ม ซึ่งเหล็กตัวนี้จะอมอยู่ส่วนโครงสร้างฐานราก โดยที่จะเป็นเหล็กเสริมที่เสริมอยู่ในเสาเข็มอยู่แล้ว หรือ จะเป็นเหล็กที่ได้รับการเจาะเสียบเพิ่มเติมจากการคำนวณของวิศวกรผู้ออกแบบก็แล้วแต่ ทั้งหมดที่กล่าวถึงนี้ เราเรียกเหล็กเสริมตัวนี้ว่า DOWEL BAR ครับ เมื่อวิศวกรผู้ออกแบบทําการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างในอาคารหนึ่งๆ หากวิเคราะห์โครงสร้างแล้วพบว่าโครงสร้างมีโอกาสความน่าจะเป็นที่ฐานรากอาจเกิดแรงยกตัวขึ้น (UP LIFT FORCE) ในโครงสร้างนั้นๆ … Read More
งานดีดบ้าน อาคารไม้หลังเก่า สำนักงานสาธารณสุข จ.ปทุมธานี
ตัวอย่างงานที่ใช้เสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) เป็นงานซ่อมแซมอาคารไม้หลังเก่า สำนักงานสาธารณสุข จ.ปทุมธานี ซึ่งทรุดโทรมมากเพราะมีอายุหลายสิบปีเริ่มตั้งแต่สร้างมา และผ่านเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่มาหลายรอบ ทางสำนักงานสาธารณสุข จ.ปทุมธานี ต้องการที่จะอนุรักษ์อาคารไม้หลังเก่าเอาไว้ จึงได้ให้ผู้รับเหมาเข้ามาปรับปรุงอาคารไม้หลังนี้ แอดมินเห็นว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากในการนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์มาใช้ ก็เลยนำมาเขียนเป็นตัวอย่างให้ดูกันครับ ผู้รับเหมาที่รับผิดชอบงานนี้ก็เลยนำเอา เหล็กเอชบีม (H-Beam) มาใช้ทำเป็นโครงสร้างแทนโครงสร้างไม้ของเดิมที่เริ่มผุพัง แล้วดีดพื้นบ้านให้สูงขึ้นเพื่อทำเป็นอาคาร 2 ชั้น ซึ่งงานนี้จำเป็นต้องทำฐานรากใหม่และจำเป็นต้องตอกเสาเข็มด้วยเพราะป้องกันการทรุดตัวของอาคารในภายหลัง บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้เข้านำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) มาตอกที่งานนี้ด้วย เพราะว่าเป็นลักษณะหน้างานที่มีความสูงจำกัดอยู่ที่ 3 เมตร ทำให้เสาเข็มใหญ่แบบอื่นไม่สามารถเข้าทำงานได้ จุดเด่นของเสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ (Spun Micro … Read More
งานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
งานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) บริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร งานนี้ถือเป็นงานที่ยากและท้าทายอีกงานหนึ่งครับ เนื่องจากทางโรงงานหยุดให้เข้าไปงานได้แค่ช่วงกลางคืนและตอนเช้าก็ต้องย้ายปั้นจั่นและอุปกรณ์ออกจากหน้างานทั้งหมด สภาพหน้างานก็มีแต่สิ่งกีดขวางทำให้ยากในการเคลื่อนย้ายปั้นจั่นเพื่อตอกเสาเข็มในแต่ละจุด
งานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) สำหรับต่อเติมโครงสร้างอาคาร POP Market ตลาดติดแอร์ราชพฤกษ์
งานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) สำหรับต่อเติมโครงสร้างอาคาร POP Market ตลาดติดแอร์ราชพฤกษ์
ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภายในอาคารเพิ่มเติม ระดับความสูงจำกัด เพื่อเพิ่มการรับน้ำหนัก
งานตอกเสาเข็มสำหรับต่อเติมบ้านจัดสรร ที่จุดต่อเติมอยู่ติดกับตัวโครงสร้างของบ้านเดิม งานตอกเสาเข็มสำหรับต่อเติมบ้านจัดสรร ที่จุดต่อเติมอยู่ติดกับตัวโครงสร้างของบ้านเดิม แถมยังอยู่ใกล้กับรั้วบ้านของเพื่อนบ้าน ถ้าหากว่าใช้เสาเข็มตอกขนาดใหญ่ก็เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเดิม จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ที่เหมาะกับงานต่อเติมในลักษณะนี้มากกว่า งานต่อเติมโครงการบ้านจัดสรร บ้านสถาพร รังสิต คลอง 3 ตัวบ้านมีกระจกอยู่รอบด้าน จึงจำเป็นต้องใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ที่มีแรงสั่นสะเทือนตอนตอกน้อยกว่าเสาเข็มแบบอื่นๆ หลังจากตอกเสาเข็มลงลึกจนถึงชั้นดินแข็งแล้ว ด้วยการเช็คจาก Blow Count ก็จะเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาที่จะขุดดินรอบๆ เสาเข็มออกเพื่อทำฐานราก (Footing) เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ 25 เซนติเมตร จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ที่ 25 – 35 ตัน/ต้น ซึ่งถ้าหากวิศวกรที่ออกแบบโครงสร้างบ้านแล้วคำนวนว่าน้ำหนักตรงจุดนั้นเยอะว่าที่เสาเข็มต้นเดียวจะสามารถรับน้ำหนักได้ ก็จะต้องตอกเสาเข็มมากกว่า 1 … Read More
ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภายในอาคารเพิ่มเติม ระดับความสูงจำกัด เพื่อเพิ่มการรับน้ำหนัก
ภูมิสยาม ซัพพลาย ได้รับความใว้วางใจ ในงานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภายในอาคารเพิ่มเติม โดยที่ระดับความสูงจำกัด เราสามรถทำได้
ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ต่อเติมโรงงาน GINTECH นิคมอุตสาหกรรมนวนคร
งานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) สำหรับต่อเติมโรงงาน Gintech นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เป็นงานตอกเสาเข็มใต้อาคารที่มีความสูงจำกัด จึงจำเป็นต้องใช้ปั้นจั่นแบบย่อส่วนที่ทางภูมิสยาม ได้ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าทำงานในหน้างานที่มีลักษณะนี้ได้ และใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ ที่มีความยาวที่ท่อนละ 1.5 เมตร แล้วนำมาเชื่อมต่อกันที่เหล็กปลอกรัดหัวเสาเข็ม เพื่อตอกลงไปจนลึกสุดจนสามารถเช็คจาก Last 10 Blow ได้
คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่
คานคอดิน (Ground Beam) คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน (Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 เมตร ระดับท้องคานคอดินจะสูงจากระดับดินค่อนข้างมาก การก่อสร้างจะต้องใช้ไม้แบบในการหล่อท้องคานคอดิน นอกเหนือจากการใช้ไม้แบบที่ด้านข้างคาน ซึ่งส่งผลเรื่องเวลาในการก่อสร้างรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้พื้นบ้านควรจะยกสูงขึ้นเท่าไหร่ พิจารณาได้จากพื้นที่รอบข้าง เช่น ถนนหน้าบ้านเป็นแบบเก่าหรือใหม่ และถ้าหากมีการยกพื้นถนน ที่ดินในจุดที่สร้างบ้านอยู่สูงกว่าพื้นถนนไหม กับอีกเรื่องก็คือน้ำท่วมถนนในบริเวณนั้นหรือไม่ คานคอดินที่พื้นคานอยู่สูงกว่าระดับพื้นดินจะช่วยให้ระดับพื้นบ้านอยู่สูงขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายตอนก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าพิจารณาในหลายๆ ด้านแล้วจะถือว่าคุ้มค่ากว่า เช่นการวางระบบท่อใต้พื้นชั้นล่าง การแก้ปัญหาเรื่องปลวกที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลัง รวมไปถึงปัญหาน้ำท่วมขัง การยกพื้นถนนหน้าบ้านที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย … Read More
การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST)
การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น โดยให้แต่ละชั้นมีปริมาตรเท่ากัน และต้องตำด้วยเหล็กตำทีละชั้นแล้วจึงค่อยๆ ยกโคนขึ้นอย่างช้าๆ คอนกรีตจะยุบตัวลงด้วยน้ำหนักของตัวเอง ความสูงที่ยุบตัวลงของคอนกรีตที่วัดได้ถือว่าเป็นค่ายุบตัวขอบคอนกรีต (ควรใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดไม่เกิน 2:30 นาที) ค่ายุบตัวที่เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างในประเทศไทย คอนกรีตสำหรับงานพื้นถนนสนามบิน ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 5.0 เซนติเมตร ± 2.5 คอนกรีตสำหรับงานทั่วไป ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 7.5 เซนติเมตร ± 2.5 คอนกรีตสำหรับงานฐานราก ค่ายุบตัวที่เหมาะสม … Read More
ในงานตอกเสาเข็ม LAST 10 BLOW COUNT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจเป็นอันดับแรก
โดยปกติถ้าเป็นดินที่อยู่แถวกรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นดินอ่อน การจะตอกเสาเข็มให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็งได้ก็จะต้องตอกให้ลึกประมาณ 21 เมตร หากใช้เสาเข็มแบบสปันไมโครไพล์ก็จะต้องใช้เสาเข็ม 14 ท่อนในการตอก 1 ต้น แต่เนื่องจากว่าหน้าดินของแต่ละที่ไม่เหมือนกันดังนั้นจึงต้องหาวิธีที่เป็นมาตรฐานในการทดสอบว่าเสาเข็มที่ตอกไปลงลึกจนถึงระดับที่จะสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ วิธีที่นิยมใช้ก็คือการนับโบว์เคาท์ Last 10 Blow Count หมายถึงระยะจมของเสาเข็มในการทดสอบด้วยการตอก 10 ครั้ง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินกว่าที่คำนวณได้จึงจะผ่านเกณฑ์ มีวิธีการทดสอบง่ายๆ โดยการใช้ไม้ยาวๆ มาวางทาบเสาเข็มไว้จากผิวดินแล้วขีดเส้นยาว 1 เส้นต่อการลงลูกตุ้ม 10 ครั้ง เพื่อจะสามารถเช็คได้ว่าเสาเข็มลงลึกเท่าไหร่ ถ้าหากว่าเส้นที่ขีดไว้อยู่ติดกันมากจนแทบจะเป็นเส้นเดียวกันก็ถือว่าเสาเข็มลงลึกจนถึงชั้นดินแข็งแล้ว ห้ามตอกต่อเพราะจะทำให้เสาเข็มเสียหายได้
COLD JOINT – การแก้ปัญหาเวลาที่เทคอนกรีต แล้วคอนกรีตขาดช่วง
ในทางทฤษฎีการหยุดเทคอนกรีตนานเกิน 30 นาที ถ้าจะเทใหม่จะต้องรออีก 20 ชั่วโมง แต่ด้วยเวลาที่จำกัดเพื่อที่จะต้องเร่งปิดงานให้เสร็จทันกำหนดจึงไม่สามารถรอนานขนาดนั้นได้ เพราะจะไปกระทบกับงานในช่วงถัดไปที่ได้กำหนดเวลาเอาไว้แล้ว ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องรวดเดียวจนเสร็จ แต่ก็มักจะมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องหยุดงาน เช่น คอนกรีตขาดช่วงเพราะรถส่งคอนกรีตมาหน้างานไม่ทัน เป็นต้น ในบล็อกนี้จึงได้เขียนถึงการแก้ปัญหาเวลาคอนกรีตขาดช่วงแล้วจะทำยังไงให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด การแก้ปัญหาเวลาที่เทคานคอนกรีตแล้วคอนกรีตขาดช่วง วิเคราะห์ตามโครงสร้างของคานคอนกรีต จะมีความสามารถรับแรงอัดและแรงเฉือนได้ดี แต่จะไม่สามารถรับแรงดึงได้ ดังนั้นจึงจะเป็นต้องมีเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในตรงนี้ และตามลักษณะของโมเมนต์กับแรงเฉือน ทั้งคานช่วงเดียวและคานต่อเนื่อง จะพบว่าจุดที่แรงเฉือนมีค่าต่ำที่สุดจะอยู่ในช่วงกลางของคาน ดังนั้นจุดต่อคอนกรีตที่ดีที่สุดจึงเป็นช่วงกลางของคาน ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องหยุดเทคอนกรีตสำหรับคานและพื้น ให้หยุดที่ช่วงกลางของตัวคาน โดยให้หน้าตัดตั้งฉากกับแบบ ส่วนเสาจะหยุดเทที่ระดับต่ำกว่าใต้ท้องคาน 2.5 เซนติเมตร การเทคอนกรีตต่อจากรอยต่อที่หยุดงานไว้ โดยการเทราดจุดต่อด้วยซีเมนต์เพสต์ (ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำ) จำนวน 2-3 กระป๋องปูน แล้วจึงเทต่อด้วยคอนกรีตสด เลือกที่มีน้ำปูนมากๆ ก่อน แล้วจี้ด้วยเครื่องสั่นคอนกรีตให้เพลสแทรกซึมต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อป้องกันเวลาถอดแบบแล้วจะเห็นรอยต่อการเทคอนกรีต … Read More
สาเหตุของการเกิดรอยร้าวของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว
การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู หรือ น๊อต ถ้าเกิดการหลุดหลวมก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบบขยับตัวได้เช่นกัน ส่วนกรณีคอนกรีตเทบนพื้นความชื้นจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่รองรับเกิดการเคลื่อนไหวหรือขยับตัว ทำให้เกิดรอยร้าวได้ การทรุดตัวของพื้นอันเนื่องมาจากการบดอัดไม่แน่นก็ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้รูปร่างไม่แน่นอนการควบคุมเพื่อมิให้เกิดรอยร้าวสามารถที่กระทำได้ด้วยการตรวจความแน่นของพื้นที่รองรับและแบบหล่อก่อนที่จะเทคอนกรีต การทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (Settement) รอยร้าวชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากส่วนผสมของคอนกรีตเหลวเกินไป ดังนั้นในช่วงเวลาที่คอนกรีตกำลังก่อตัวอยู่ วัสดุผสมจำพวกหินและทรายก็ยังจมอยู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัวทรุดตัวอยู่รอบๆ วัสดุนั้น … Read More
การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (PLASTIC SHRINKAGE CRACKING)
การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile Stress) ซึ่งแรงเค้นเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตมีการหดตัวเมื่อแรงเค้นนี้เกิดมากเกินกว่าที่คอนกรีตสามารถรับได้ก็จะเกิดการแตกร้าว การป้องกันการแตกร้าวแบบ Plastic Shrinkage ในส่วนของผู้บริโภค สามารถทำได้หลายแนวทาง ดั้งนี้ แนวทางแรกคือการวางแผนงานให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับปริมาณและอัตราการเทของคอนกรีตที่สั่ง รวมถึงการจ้างแรงงานที่มีความชำนาญในจำนวนที่พอเพียง เพื่อให้การเทคอนกรีตเป็นไปอย่างรวดเร็วและคอนกรีตยังคงอยู่ในสภาพสด แนวทางที่สองคือการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับรถโม่ที่จัดส่งคอนกรีต เพื่อให้รถใช้เวลาในการรับส่งน้อยที่สุด หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความต้องการคอนกรีตในปริมาณที่สูงและภายใน โครงการมีเนื้อที่ว่างพอ ควรพิจารณาอนุญาตให้บริษัทฯสามารถติดตั้งโรงงานผสมคอนกรีตภายในบริเวณ โครงการเป็นการชั่วคราว แนวทางที่สามคือการควบคุมการทำงานให้เป็นไปตาม มาตรฐานและข้อกำหนด … Read More
อิฐมวลเบา (LIGHTWEIGHT CONCRETE)
อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, 15, 20 เซนติเมตร มี 2 ชั้นคุณภาพคือ ชั้นคุณภาพ 2 ตามมาตรฐาน มอก. 1505 – 2541 ชนิด 0.5 จะมีความหนาแน่น (Dry Density) ไม่เกิน 500 … Read More