การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) การเลือกใช้งานคอนกรีตสำหรับงานสลิปฟอร์ออกมาทั้งหมด 5 ข้อ 1. แจ้งข้อมูลต่างๆ แวดล้อมการทำงานให้ชัดเจนกับทางโรงงานผู้ผลิต เช่น ความยากง่ายของการเข้าออกของสถานที่ก่อสร้าง เป็นต้น เพื่อให้ทางโรงงานผู้ผลิตได้ทราบและทำการออกแบบสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ตามที่ได้แจ้งไป 2. เมื่อมีการนำส่งคอนกรีตสำเร็จรูปเพื่อใช้สำหรับงานสลิปฟอร์มที่หน้างาน ให้ทีมวิศวกรที่คอยทำหน้าที่ในการตรวจสอบค่าการยุบตัวของคอกนรีต หรือ SLUMP TEST ให้เก็บข้อมูลตัวอย่างและค่าของการยุบตัวของคอนกรีตสำเร็จรูปทุกคันที่เข้ามาที่หน้างาน และไม่ควรทำการสุ่มตรวจข้อมูลดังกล่าวเหมือนกันกับขั้นตอนในการเทคอนกรีตทั่วๆไป เพราะการทำงานกับสลิปฟอร์มนั้นค่อนข้างที่จะมีความพิเศษแตกต่างออกไปจากขั้นตอนในการก่อสร้างทั่วไป 3. ขั้นตอนของการติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเทคอนกรีตนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในขณะที่ทำการเทคอนกรีต เพราะหากมีระยะเวลาในการเทนั้นเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง ก็ตาม ต้องทำการหยุดการเทคอนกรีตชั่วขณะ หรือต้องทำการเร่งขั้นตอนการเทคอนกรีตให้เร็วยิ่งขึ้น จึงควรทำการแก้ปัญหานี้โดยการติดต่อประสานงานกับโรงงานผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปโดยด่วน ทั้งนี้ก็เพื่อให้โรงงานผู้ผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปนั้นสามารถทำการปรับสัดส่วนการผสมคอนกรีตให้มีระยะเวลาในการก่อตัวของคอนกรีตที่มีความเหมาะสม … Read More

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่ คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ 1. คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน(Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 เมตร ระดับท้องคานคอดินจะสูงจากระดับดินค่อนข้างมาก การก่อสร้างจะต้องใช้ไม้แบบในการหล่อท้องคานคอดิน นอกเหนือจากการใช้ไม้แบบที่ด้านข้างคาน ซึ่งส่งผลเรื่องเวลาในการก่อสร้างรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้พื้นบ้านควรจะยกสูงขึ้นเท่าไหร่ พิจารณาได้จากพื้นที่รอบข้าง เช่น ถนนหน้าบ้านเป็นแบบเก่าหรือใหม่ และถ้าหากมีการยกพื้นถนน ที่ดินในจุดที่สร้างบ้านอยู่สูงกว่าพื้นถนนไหม กับอีกเรื่องก็คือน้ำท่วมถนนในบริเวณนั้นหรือไม่ 2. คานคอดินที่พื้นคานอยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน จะช่วยให้ระดับพื้นบ้านอยู่สูงขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายตอนก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าพิจารณาในหลายๆ ด้านแล้วจะถือว่าคุ้มค่ากว่า เช่นการวางระบบท่อใต้พื้นชั้นล่าง … Read More

คอนกรีตทนน้ำเค็ม

เพราะเหตุใด?? เสาเข็มไมโครไพล์ ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการหล่อคอนกรีตโดยการให้แรงเหวี่ยง หลักการพื้นฐานของการตอกเสาเข็มคือ การทำให้ “พลังงาน” หรือ “ENERGY” แก่โครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการ “ตอก” เสาเข็มลงไปในดิน ซึ่ง “ปริมาณ” ของพลังงานที่จะทำการใส่ลงไปในดินนั้นจะมีค่าที่ มาก หรือ น้อย ก็จะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ขนาดและความยาวของเสาเข็มที่ต้องการจะใช้ กำลังความสามารถของเสาเข็มที่ต้องการที่จะให้รับน้ำหนัก ความหลวมหรือแน่นตัวของดินที่จะทำการตอกเสาเข็ม เป็นต้น ดังนั้นเมื่อดูจากหลักการพื้นฐานที่ได้กล่าวข้างต้นในเรื่องของพลังงาน ก็จะพบว่าค่าพลังงานที่จะได้จากการตอกเสาเข็ม 1 ครั้งนั้นจะเกิดจากการที่สามเทอมหลักๆ นั้นคูณกันออกมา นั่นก็คือ เทอมค่าการสูญเสียพลังงานจากปัจจัยต่างๆ ในการตอกเสาเข็ม เทอมน้ำหนักของตัวตุ้ม และ เทอมระยะยกของตัวตุ่มที่ใช้ในการตอก หรือเขียนง่ายๆ ได้ว่าค่าของพลังงานที่จะได้รับจากการตอกเสาเข็ม 1 ครั้งนั้นจะมีค่าเท่ากับ E … Read More

คอนกรีตทนน้ำเค็ม

คอนกรีตทนน้ำเค็ม คุณสมบัติ ในน้ำเค็มจะมีสารประกอบหลักที่สำคัญคือคลอไรด์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ ดังนั้น ในการออกแบบคอนกรีตทนน้ำเค็ม จึงอาศัยหลักการป้องกันการซึมผ่านของสารครอไรด์ และการจับยึด ไม่ให้คลอไรด์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเป็นสนิม โดยทั่วไป สามารถแบ่งสภาพแวดล้อม การสัมผัสกับบรรยากาศทะเล ของโครงสร้างคอนกรีตได้สี่สภาวะดังนี้ + สภาวะที่ 1 โครงสร้างสัมผัสกับไอทะเล + สภาวะที่ 2 โครงสร้างสัมผัสกับคลื่นชายฝั่ง + สภาวะที่ 3 โครงสร้างอยู่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง + สภาวะที่ 4 โครงสร้างจมอยู่ใต้น้ำทะเล จากสี่สภาวะนี้ สภาวะที่ 2 และ 3 เป็นสภาวะที่คอนกรีตจะเกิดความเสียหายรุนแรงที่สุด ซึ่งลักษณะการเสียหายของคอนกรีตที่สัมผัสกับน้ำเค็ม จะเป็นการเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเป็นสนิมของเหล็กเสริม … Read More

คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป

คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป คุณสมบัติ คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น ขั้นตอนการทำงาน คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตึกสูง งานถนน พื้นโรงงาน และลานจอดรถ ที่มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และค่าการพัฒนากำลังที่เหมาะสมต่อการก่อสร้างโครงสร้างทั่วไป ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวขนาดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด ข้อแนะนำ 1. … Read More

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน HOT ROLLED STEEL

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน HOT ROLLED STEEL โดยในประเทศไทยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม มีอักษรย่อว่า สมอ. ได้มีการออกประกาศเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือมีอักษรย่อว่า มอก. ของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนก็คือ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1227-2539 ส่วนเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นก็คือ มาตรฐานเลขที่ มอก. 1228-25349 ทั้งนี้จุดประสงค์ที่ทาง สมอ. ได้ทำการออกประกาศดังกล่าวออกมาก็เพื่อใช้เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อให้ทั้ง 3 ฝ่ายดังต่อไปนี้ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ทางผู้บริโภคทุกๆฝ่ายนั้น ได้รับผลประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ 1. ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีหน้าที่ต้องทำการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณทั้งสองแบบนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยที่จะต้องมีรายละเอียดต่างๆ ของตัวผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการอนุญาตจากทาง สมอ. เสมอ 2. ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีหน้าที่ต้องทำการจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคทุกๆฝ่าย ที่เข้ามาติดต่อขอเป็นผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เฉพาะผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่ได้คุณภาพและต้องตรงตามมาตรฐานที่ทาง สมอ. นั้นอนุญาตเสมอ 3. ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีหน้าที่ต้องทำการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณที่มีคุณภาพและต้องตรงตามมาตรฐานทาง … Read More

เหล็กที่ถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือว่า COLED FORM STEEL

เหล็กที่ถูกผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือว่า COLED FORM STEEL โดยที่เจ้าเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นนั้นก็จะประกอบไปด้วยหน้าตัดเหล็กทั้งหมด 5 แบบ โดยมีประเภทของเหล็กเพียง 1 ชั้นคุณภาพเท่านั้น ซึ่งก็คือเกรด SSC400 โดยวิธีในการตรวจสอบเบื้องต้นว่าเป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็นหรือไม่ วิธีในการตรวจสอบคือ 1. ตรวจสอบการแสดงเครื่องหมายและฉลากต่างๆ บนเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น มีความครบถ้วนหรือไม่ 2. ตรวจสอบตัวนูนที่แสดงชั้นคุณภาพ และชื่อของผู้ผลิต ชื่อย่อ หรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน ที่ได้มีการแสดงเอาไว้บนตัวผลิตภัณฑ์ หรือเครื่องหมายการค้า ที่ได้รับอนุญาตจาก สมอ โดยทำการตรวจสอบกับรายชื่อผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตกับทางสถาบัน 3. ตรวจสอบลักษณะทั่วๆไปทางกายภาพ ภายนอกของเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็นว่าอยู่ในสภาพผิวที่ค่อนข้างจะเรียบเกลี้ยง ไม่มีรอยแตกร้าวหรือรอยปริใดๆ ที่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 4. ตรวจสอบดูเกรดของเหล็กเป็นเกรดเท่าใด เพราะเกรดของเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็นนั้นจะมีเพียงแค่เกรดเดียวนั่นก็คือ เหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็นเกรด SSC400 ทั้งนี้วิธีในการผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน … Read More

วิธีในการเลือกใช้งาน เสาเข็มแต่ละประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างแต่ละงาน

วิธีในการเลือกใช้งาน เสาเข็มแต่ละประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับงานก่อสร้างแต่ละงาน เสาเข็มแต่ละหน้าตัดนั้นจะมีลักษณะและองค์ประกอบที่มีความแตกต่างกัน เช่น เส้นรอบรูป ขนาดพื้นที่หน้าตัด กระบวนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเสาเข็ม ลักษณะของปลายเสาเข็ม เป็นต้น จะทำให้เสาเข็มแต่ละหน้าตัดมีความเหมาะสมกับชนิดของดิน ที่จะนำไปใช้ตอกแตกต่างกัน จะทำการอ้างอิงถึงเสาเข็มแต่ละชนิดแต่ละหน้าตัด โดยจะมีปลายที่เหมือนๆกัน คือ เป็นปลายแบบ ตัดตรง และจะมีความยาวที่เท่าๆ กัน และหน้าตัดของเสาเข็มแบบใด ที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งานกับดินที่มีค่า SPT N-VALUE เป็นเท่าใด จึงจะมีความเหมาะสม และเกิดความคุ้มค่าสูงที่สุด   จะเห็นได้ว่าเมื่อเสาเข็มเป็นปลายแบบ ตัดตรง เสาเข็มทั้ง 3 ชนิดหน้าตัดนี้จะสามารถใช้ทำการตอกผ่านดินที่มีลักษณะ อ่อน ถึง แข็งปานกลาง ได้ และส่วนปลายจะสามารถฝังอยู่ในดินที่มีลักษณะแข็งได้ แต่ไม่ลึกมาก ซึ่งโดยประมาณไม่เกิน 3 … Read More

การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม

การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม ในการใช้งานเสาเข็ม เพื่อให้เสาเข็มในอาคารนั้น มีกำลังในการรับน้ำหนักที่สูงที่สุด และมีการทรุดตัวของเสาเข็มที่น้อยที่สุดด้วย หากเลือกระหว่างการเลือกใช้งานระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว SINGLE PILE กับระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม GROUP PILES แนะนำให้ใช้เป็นระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มเดี่ยว เพราะ หากเลือกอาศัยระบบ ฐานรากแบบเสาเข็มกลุ่ม จะพบว่า กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มนั้นจะมีค่าที่ “น้อยกว่า” หรือ “เท่ากับ” กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มเดี่ยวทั้งหมดรวมกัน หากกำหนดให้ค่า Qas เป็น กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบเดี่ยวเพียง 1 ต้น ค่า Qag เป็น กำลังในการรับน้ำหนักของเสาเข็มแบบกลุ่ม และ ค่า N เป็นจำนวนทั้งหมดของเสาเข็ม เราจะพบสิ่งที่มีความน่าสนใจประการหนึ่งนั่นก็คือ Qug … Read More

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ – เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงตามแนวศูนย์กลางแกนเสา – เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงเยื้องศูนย์ 2. แบ่งตามขนาดความสูงของเสา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ – เสาสั้น คือ เสาที่มีอัตราส่วนความสูงต่อด้านแคบของเสา (เสาสี่เหลี่ยม) หรืออัตราส่วนความสูงต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเสา (เสากลม) น้อยกว่า 15 – … Read More

1 2 3