สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (CORROSION INHIBITOR)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น สารยับยั้งการเกิดสนิม (Corrosion Inhibitor) เป็นสารผสมเพิ่มในคอนกรีต หรือสารทาผิวคอนกรีตประเภทหนึ่งที่สามารถลดอัตราการเกิดสนิม หรือแม้กระทั่งสามารถยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งสารผสมเพิ่มประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษ ได้แก่ เพิ่มความต้านทานต่อการถูกท าลายเนื่องจากคลอไรด์ไอออน หรือคาร์บอเนชั่นของพาสซิพฟิล์ม ซึ่งเป็นชั้นฟิล์มที่ป้องกันการเกิดสนิมของเหล็กเสริม สร้างชั้นฟิล์มพิเศษป้องกันเหล็กเสริมจากการเกิดสนิม ยับยั้งการซึมผ่านของคลอไรด์อิออน หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มความสามารถในการยึดจับคลอไรด์ของคอนกรีต ลดปริมาณก๊าซออกซิเจนที่ละลายอยู่ในสารละลายภายในช่องว่างของคอนกรีต ยับยั้งการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนผ่านช่องว่างภายในคอนกรีต สารยับยั้งการเกิดสนิม ณ ปัจจุบันให้เลือกมากมายหลายชนิดในตลาด ผู้ใช้งานควรมีความเข้าใจถึงชนิด และประเภทของผลิตภัณฑ์ … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก สนิมเหล็กจะเกิดจากกระบวนการทำปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าของเหล็กกับความชื้นและออกซิเจนในอากาศ เมื่อเหล็กสัมผัสกับความชื้นและออกซิเจนในอากาศ ผิวเหล็กก็จะเกิดสนิมและเกิดขั้วของเซลไฟฟ้าขึ้น 2 ขั้ว คือ ขั้วบวก กับขั้วลบ เมื่อผิวเหล็กสัมผัสกับความชื้นและออกซิเจนในอากาศซึมเข้าไปทำปฏิกิริยาเคมีกับน้ำซึ่งเป็นสารละลายที่เป็นกลาง ทำให้เกิดสนิมเหล็กและทำให้เนื้อเหล็กแตกหลุดร่อนออกมาเป็นหลุมบนผิว การเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยทั่วไป การเกิดสนิมของเหล็กเสริมจะมีปฏิกิริยาเคมี จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ถ้าเกิดขึ้นบนผิวเหล็กในบริเวณเดียวกันจะทำให้เกิดสนิมแบบสม่ำเสมอ เรียกว่า Microcell … Read More

ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็ก (CONCRETE COVERING) มีระยะต่ำสุดที่เท่าไหร่

+สอบถามราคาเสาเข็มได้ที่ ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมนั้น ACI กำหนดให้ระยะช่องว่างน้อยที่สุดระหว่างเหล็กเสริมเท่ากับค่าที่มากกว่าของเส้นผ่าศูนย์กลางเหล็กเสริม DB, 2.5 ซ.ม. และ 1.33 เท่าของขนาดมวลรวมโตสุด โดยเหล็กนอนในคานทั้งหมดจะถูกห่อหุ้มโดยเหล็กปลอก ระยะหุ้มคอนกรีตต่ำสุดที่ ACI กำหนดไว้ ดังนี้ คอนกรีตหล่ออยู่บนหรือในพื้นดินถาวร ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 7.5 ซม. คอนกรีตหล่อบนพื้นดินหรือสภาพอากาศภายนอก : เหล็กเสริม DB20 และใหญ่กว่า ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 5 ซม. เหล็กเสริม DB16 และน้อยกว่า ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด … Read More

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เรื่องพื้นฐานสำหรับงานก่อสร้างบ้านพักอาศัย

พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยที่นิยมกันทั่วไปมี 2 ชนิด ด้วยกัน คือ พื้นสำเร็จวางบนคานและพื้นชนิดวางบนดิน การก่อสร้างพื้นทั้ง 2 ชนิดนี้มีขั้นตอนไม่ซับซ้อนมากนัก พื้นสำเร็จวางบนคาน (Slap on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสูงโครงสร้างอาคารในแนวเดียวลงสู่คานที่ได้ออกแบบไว้สำหรับรับน้ำหนักจากแผ่นพื้น แผ่นพื้นชนิดนี้โดยปกติจะมีความยาว 2 – 5 เมตร และมีความกว้าง 30 เซนติเมตร ในขั้นตอนการก่อสร้างจะนำแผ่นพื้นชนิดนี้มาวางบนคาน หลังจากนั้นจะเทคอนกรีตทับด้านบนของแผ่นพื้นโดยมีความหนาประมาณ 5 เซนติเมตร ในช่วงการก่อสร้างจำเป็นต้องติดตั้งนั่งร้านชั่วคราวสำหรับรองรับน้ำหนักก่อนที่แผ่นพื้นจะสามารถรับน้ำหนักได้เอง พื้นชนิดวางบนดิน (Slap on Ground) การก่อสร้างบานพักอาศัยที่มี 2 ชั้น ในกรณีที่พื้นล่างอยู่ในระดับพื้นดิน สามารถเลือกก่อสร้างพื้นล่างด้วยการใช้พื้นชนิดนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีคานคอดินสำหรับป้องกันการเคลื่อนตัวของดินในด้านข้าง และมีการบดอัดดินที่ถมเให้มีความหนาแน่นเพียงพอ หากพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในสภาพดินอ่อนหรือมีการทรุดตัวของดินในบริเวณข้างเคียง ไม่ควรจะใช้พื้นชนิดนี้เพราะจะมีผลเสียต่อโครงสร้างของพื้นในระยะยาวได้ … Read More

ผนังอิฐมวลเบา สามารถแขวนของหนักได้มากแค่ไหน

ในวงการก่อสร้างช่วงหลังมานี้ นิยมนำอิฐมวลเบามาใช้ในงานก่อสร้างกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าอิฐแบบทั่วไป แต่เนื่องจากว่าเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาจึงช่วยในเรื่องการลดน้ำหนักของโครงสร้างอาคารได้ ลดความร้อน และทนต่อไฟไหม้ได้มากกว่า ทั้งยังช่วยให้ทำงานก่อสร้างได้ง่ายขึ้น และช่วยประหยัดเวลาในทำงานอีกด้วย การออกแบบบ้านหรือว่าคอนโดส่วนใหญ่จะเน้นแบบโมเดิร์น ซึ่งนิยมติดตั้งอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เป็นแบบเจาะติดผนังเลย เช่น การติดตั้งโทรทัศน์แบบแขวนติดผนัง การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ทำชั้นวางหนังสือแบบยึดติดผนัง หลายคนอาจจะสงสัยว่าผนังบ้านที่ใช้อิฐมวลเบาจะสามารถแขวนของที่มีน้ำหนักมากขนาดนี้ได้ไหม ในบล็อกนี้จึงขอเอาข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกัน โดยทั่วไปหากเราเลือกที่ได้มาตรฐานมาใช้ในการสร้างบ้าน ผนังที่สร้างจากอิฐมวลเบาก็จะสามารถรองรับน้ำของสิ่งของพวกนี้ได้หมดครับ แต่มีเคล็ดลับอยู่ที่การเจาะติดตั้ง และการเลือกพุกที่นำมาใช้ยึด ควรใช้พุกที่ออกแบบมาสำหรับอิฐมวลเบาโดยเฉพาะ และตอนเจาะต้องใช้ดอกสว่านที่มีขนาดพอดีกับพุกที่เลือกใช้ พุกอิฐมวลเบา (Lightweight Concrete Anchors) เป็นพุกที่ออกแบบมาเฉพาะในการใช้ฝังยึดในผนังคอนกรีตมวลเบา เนื่องด้วยคอนกรีตมวลเบามีเนื้อพรุนและมีฟองอากาศ นอกจากนั้นเนื้อผนังคอนกรีตมวลเบายังมีความแข็งแกร่งน้อยกว่าผนังคอนกรีตทั่วไป ดังนั้นหากต้องการเจาะผนังเพื่อแขวนสิ่งของที่มีน้ำหนักเยอะก็ควรเลือกใช้พุกให้ถูกประเภทด้วย พุกโลหะ ที่ใช้สำหรับอิฐมวลเบา คอมเพรสเซอร์แอร์ การติดตั้งราวผ้าม่านที่มีน้ำหนักไม่เยอะ ก็สามารถจะใช้พุกพลาสติกธรรมดาได้

ฐานราก (FOOTING) แบ่งออกได้เป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดมีอะไรบ้าง

+สอบถามราคาเสาเข็มได้ที่ ฐานราก (Footing) ทำหน้าที่รับน้ำหนักจากโครงสร้างทั้งหมดแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาเข็มหรือดินโดยตรง คุณสมบัติของดินที่รองรับฐานรากควรมีความสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้โดยไม่เกิดการเคลื่อนตัวหรือพังทลายของดินใต้ฐานรากและต้องไม่เกิดการทรุดตัวลงมากจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้าง ฐานราก ถูกแบ่งออกตามลักษณะได้ 2 ชนิด คือ ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) หรือแบบไม่มีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากซึ่งลึกจากระดับผิวดินน้อยกว่า หรือเท่ากับด้านที่สั้นที่สุดของฐานราก โดยฐานรากวางอยู่บนชั้นดินโดยตรง และไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับฐานราก เหมาะกับสภาพพื้นดินท่ีมีความสามารถแบกรับน้ำหนักบรรทุกได้สูง และกับสภาพพื้นดินท่ีตอกเสาเข็มไม่ลงหรืออย่างยากลำบาก เช่น พื้นที่ดินลูกรัง พื้นที่ภูเขาทะเลทราย ฐานรากลึก (Deep Foundation) หรือแบบมีเสาเข็มรองรับ หมายถึงฐานรากที่ถ่ายน้ำหนักโครงสร้างลงสู่ดินด้วยเสาเข็ม เนื่องจากชั้นดินที่รับน้ำหนักปลอดภัยอยู่ในระดับลึก เหมาะกับการก่อสร้างบนดินอ่อน มีการออกแบบฐานรากให้มีขนาดเสาเข็มและความลึกให้มีลักษณะ แตกต่างกันเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนัก และความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงของฐานราก ความแข็งแรงของตัวฐานรากเองซึ่งหมายถึงโครงสร้างส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสามารถในการแบกรับน้ำหนักของดินใต้ฐานราก การทรุดตัวของดินใต้ฐานราก ควรเกิดขึ้นได้น้อย และใกล้เคียงกันทุกฐานราก ประเภทของฐานราก ทั้งฐานรากชนิดตื้นและชนิดลึก … Read More

การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร จนน้ำซึมเข้าในอาคารหรือตัวบ้าน

ดาดฟ้า เป็นบริเวณสำคัญที่ช่วยปกป้องบ้านและอาคาร เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องรับน้ำฝนและแสงแดดโดยตรง ควรดูแลรักษาดาดฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ดีจะช่วยป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม เพราะน้ำที่ซึมเข้าไปจะทำให้เหล็กเส้นโครงสร้างภายในคอนกรีตเป็นสนิม และดันคอนกรีตปริแตก ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารได้ สาเหตุ ของปัญหาพื้นดาดฟ้าร้าว รั่ว คอนกรีตกระเทาะหลุดร่อน มาจากน้ำรั่วซึมจากดาดฟ้า ซึ่งโดยส่วนมากจะเป็นอาคารเก่าที่ไม่ได้ทำระบบกันซึมเอาไว้ หรืออาจจะทำแล้วแต่ว่าเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือเกิดจากการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน การเทพื้นดาดฟ้าไม่ได้ระดับทำให้เกิดน้ำขังเป็นแอ่ง ส่งผลให้น้ำซึมเข้ามาถึงเหล็กโครงสร้างจนเกิดสนิม เมื่อเหล็กเริ่มเป็นสนิมจะเกิดการพองตัวไปดันคอนกรีตที่หุ้มผิวด้านนอกจนแตกร้าวและหลุดร่อนออกมา การแก้ไขปัญหาปูนแตกร้าวบนดาดฟ้าอาคาร ส่วนดาดฟ้า ควรทำระบบกันซึมดาดฟ้าด้วยวัสดุกันซึม เช่น ระบบอะครีลิคกันซึม (TOA Roofseal, Lanko 451) หรือระบบโพลียูรีเทนกันซึม (Lanko 453) ในขณะที่ทำควรปูตาข่ายไฟเบอร์ (Fiberglass Mesh) เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงและเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวดาดฟ้ากับวัสดุกันซึมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ช่วยป้องกันไม่ให้วัสดุกันซึมฉีกขาดง่ายจนเกินไป ส่วนท้องเพดาน ควรตรวจดูรอยร้าวรอยแตกของของคอนกรีต ถ้ามีคอนกรีตล่อนกระเทาะออกมา ควรสะกัดเอาคอนกรีตส่วนที่แตกตรงส่วนนั้นออก ให้เหลือส่วนคอนกรีตที่แข็งแรงเอาไว้ … Read More

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรูกลวง (HOLLOW CORE SLAB)

แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง เป็นมิติใหม่ของพื้นสำเร็จรูป มีการออกแบบให้มีขนาดของหน้าตัดและความยาวที่แตกต่างกันออกไป เพื่อที่จะทำการรับน้ำหนักของน้ำหนักบรรทุก เพื่อทดแทนการใช้งานของพื้นที่ทำการเทหล่อในที่ ใช้สำหรับการก่อสร้างอาคารพักอาศัย คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงานและโรงงานอุตสาหกรรม สะดวกสำหรับการก่อสร้าง ติดตั้งได้รวดเร็ว ทำให้สามารถกำหนดช่วงระยะเวลาการก่อสร้างได้อย่างถูกต้อง คุณสมบัติอื่นๆ ของแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปอัดแรง ผิวเรียบทำให้ไม่จำเป็นต้องฉาบปูนหรือติดตั้งฝ้าเพดาน ช่วงยาวสามารถใช้งานในความยาวต่างๆ กันได้ สะดวกและประหยัด เนื่องจากไม่ต้องใช้ค้ำยันชั่วคราวในการก่อสร้าง จึงประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน (ยกเว้นความหนา 6 ซม.) ระบบคอนกรีตแบบ Pre-Stress Concrete เป็นการอัดแรงเข้าในคอนกรีตโดยลวดเหล็กแรงดึงสูง (PC Wire หรือ PC Strand) ให้ได้ปริมาณแรงที่กำหนด ซึ่งปกติจะดึงแรง 70% ของค่าแรงดึงสูงสุด (Breaking Load) ซึ่งทำการจับยึดปลายลวดทั้ง 2 ด้าน … Read More

เหล็กปลอก (STIRRUP)

เหล็กปลอก (Stirrup) คือ เหล็กที่ใช้เสริมอยู่ภายในเสาหรือคานในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กที่ใช้ส่วนมากคือคือเหล็กเส้นกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร โดยจะดัดเหล็กเส้นเป็นรูปร่างเดียวกับพื้นที่หน้าตัดของเสาหรือคานที่จะใช้ ติดตั้งล้อมรอบเหล็กยืน ตลอดความยาวของโครงสร้างเป็นระยะห่างอย่างสม่ำเสมอ หากเสาคอนกรีตมีแต่แกนเหล็กแต่ไม่มีเหล็กรัดรอบ เมื่อเสารับน้ำหนักจนเกินกำลังที่รับได้ เสาจะเกิดการวิบัติในลักษณะแตกระเบิด ก่อนเกิดการโก่งตัว ดังนั้นเหล็กปลอกจึงช่วยต้านทานการแตกของคอนกรีตภายในได้ เสาจะไม่แตกระเบิด แต่ค่อยๆ โกงตัวจนกระทั่งเกิดการวิบัติในที่สุด เหล็กปลอกเสาที่รัดรอบเหล็กแกนเสา แบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่ เหล็กปลอกเดี่ยว เหล็กปลอกเกลียว

เหล็กเสริมคอนกรีต (REINFORCED STEEL BAR)

เหล็กเส้น (Rebar) ใช้สำหรับนำมาเสริมคอนกรีตในบริเวณที่รับแรงดึงหรือต้านทานการแตกร้าวในคอนกรีต แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) และ เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar, DB) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 20-2543 กำหนดไว้เพียงชั้นคุณภาพเดียว โดยใช้สัญลักษณ์ SR 24 มีคุณสมบัติเชิงกลในการรับแรงดึงคือ ความต้านแรงดึง (สูงสุด) Fu ต้องไม่น้อยกว่า 385 MPa (3,900 ksc) ความต้านแรงดึงท่ีจุดคราก Fy ต้องไม่น้อยกว่า 235 MPa (2,400 ksc) … Read More

1 2 3 4 5