การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (SLUMP TEST)

การทดสอบค่ายุบตัวของคอนกรีต (Slump Test) ใช้เพื่อทดสอบหาค่าความข้นเหลวของคอนกรีตในสภาพเหลวโดยใช้วิธีการทดสอบหาค่าการยุบตัว เพื่อตรวจสอบความสามารถเทได้ของคอนกรีต (Workability) ค่ายุบตัวไม่ได้เป็นค่าที่วัดความสามารถเทได้ของคอนกรีตโดยตรง แต่เป็นการวัดความข้นเหลวของคอนกรีต (Consistency) หรือลักษณะการไหลตัวของคอนกรีต (Flow Characteristic) แม้วิธีนี้จะไม่เหมาะสมสำหรับทดสอบคอนกรีตที่เหลว หรือแห้งมากแต่ก็มีประโยชน์อย่างมากและสะดวกสำหรับการควบคุมความสม่ำเสมอของการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ เช่น ในกรณีที่ค่ายุบตัวของคอนกรีตมีค่ามากกว่าปกติที่ออกแบบไว้ แสดงให้เห็นว่าจะต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นในสัดส่วนผสม ขนาดคละหรือความชื้นในมวลรวมซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตคอนกรีตสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ การทดสอบทำโดยตักคอนกรีตใส่ลงในโคนที่มีลักษณะเป็นกรวยยอดตัดให้ได้ 3 ชั้น โดยให้แต่ละชั้นมีปริมาตรเท่ากัน และต้องตำด้วยเหล็กตำทีละชั้นแล้วจึงค่อยๆ ยกโคนขึ้นอย่างช้าๆ คอนกรีตจะยุบตัวลงด้วยน้ำหนักของตัวเอง ความสูงที่ยุบตัวลงของคอนกรีตที่วัดได้ถือว่าเป็นค่ายุบตัวขอบคอนกรีต (ควรใช้เวลาในการทดสอบทั้งหมดไม่เกิน 2:30 นาที) ค่ายุบตัวที่เหมาะสมสำหรับงานก่อสร้างในประเทศไทย คอนกรีตสำหรับงานพื้นถนนสนามบิน ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 5.0 เซนติเมตร ± 2.5 คอนกรีตสำหรับงานทั่วไป ค่ายุบตัวที่เหมาะสม 7.5 เซนติเมตร ± 2.5 คอนกรีตสำหรับงานฐานราก ค่ายุบตัวที่เหมาะสม … Read More

COLD JOINT – การแก้ปัญหาเวลาที่เทคอนกรีต แล้วคอนกรีตขาดช่วง

ในทางทฤษฎีการหยุดเทคอนกรีตนานเกิน 30 นาที ถ้าจะเทใหม่จะต้องรออีก 20 ชั่วโมง แต่ด้วยเวลาที่จำกัดเพื่อที่จะต้องเร่งปิดงานให้เสร็จทันกำหนดจึงไม่สามารถรอนานขนาดนั้นได้ เพราะจะไปกระทบกับงานในช่วงถัดไปที่ได้กำหนดเวลาเอาไว้แล้ว ดังนั้นจึงควรเทคอนกรีตให้ต่อเนื่องรวดเดียวจนเสร็จ แต่ก็มักจะมีเหตุสุดวิสัยที่ต้องหยุดงาน เช่น คอนกรีตขาดช่วงเพราะรถส่งคอนกรีตมาหน้างานไม่ทัน เป็นต้น ในบล็อกนี้จึงได้เขียนถึงการแก้ปัญหาเวลาคอนกรีตขาดช่วงแล้วจะทำยังไงให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด การแก้ปัญหาเวลาที่เทคานคอนกรีตแล้วคอนกรีตขาดช่วง วิเคราะห์ตามโครงสร้างของคานคอนกรีต จะมีความสามารถรับแรงอัดและแรงเฉือนได้ดี แต่จะไม่สามารถรับแรงดึงได้ ดังนั้นจึงจะเป็นต้องมีเหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในตรงนี้ และตามลักษณะของโมเมนต์กับแรงเฉือน ทั้งคานช่วงเดียวและคานต่อเนื่อง จะพบว่าจุดที่แรงเฉือนมีค่าต่ำที่สุดจะอยู่ในช่วงกลางของคาน ดังนั้นจุดต่อคอนกรีตที่ดีที่สุดจึงเป็นช่วงกลางของคาน ดังนั้นถ้าจำเป็นจะต้องหยุดเทคอนกรีตสำหรับคานและพื้น ให้หยุดที่ช่วงกลางของตัวคาน โดยให้หน้าตัดตั้งฉากกับแบบ ส่วนเสาจะหยุดเทที่ระดับต่ำกว่าใต้ท้องคาน 2.5 เซนติเมตร การเทคอนกรีตต่อจากรอยต่อที่หยุดงานไว้ โดยการเทราดจุดต่อด้วยซีเมนต์เพสต์ (ปูนซีเมนต์ผสมกับน้ำ) จำนวน 2-3 กระป๋องปูน แล้วจึงเทต่อด้วยคอนกรีตสด เลือกที่มีน้ำปูนมากๆ ก่อน แล้วจี้ด้วยเครื่องสั่นคอนกรีตให้เพลสแทรกซึมต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อป้องกันเวลาถอดแบบแล้วจะเห็นรอยต่อการเทคอนกรีต … Read More

สาเหตุของการเกิดรอยร้าวของคอนกรีต ก่อนที่คอนกรีตจะเริ่มแข็งตัว

การแตกร้าวของคอนกรีตเป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากจะให้เกิดขึ้น แต่บางครั้งถ้าหากเทคอนกรีตไม่ถูกวิธีก็อาจจะสร้างรอยร้าวขึ้นมาได้ ในบล็อกนี้ได้เอาปัญหาการแตกร้าวของคอนกรีตก่อนที่ของคอนกรีตจะเริ่มแข็งตัวมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 2 – 8 ชั่วโมง ภายหลังจากการเทคอนกรีต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกร้าวชนิดนี้แบ่งออกเป็นประเภทหลักๆ ได้ดังนี้ การขยับตัวของแบบหล่อคอนกรีต (Form or Subgrade Movement) รอยร้าวชนิดนี้มีสาเหตุมาจากความชื้น ซึ่งจะทำให้แบบพองตัวหรือแบบอาจไม่แข็งแรงพอรับน้ำหนักของคอนกรีตได้ อย่างไรก็ตามวัสดุยึดตรึงแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะปู หรือ น๊อต ถ้าเกิดการหลุดหลวมก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แบบขยับตัวได้เช่นกัน ส่วนกรณีคอนกรีตเทบนพื้นความชื้นจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นที่รองรับเกิดการเคลื่อนไหวหรือขยับตัว ทำให้เกิดรอยร้าวได้ การทรุดตัวของพื้นอันเนื่องมาจากการบดอัดไม่แน่นก็ทำให้เกิดรอยร้าวได้เช่นกัน รอยร้าวที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังกล่าวนี้รูปร่างไม่แน่นอนการควบคุมเพื่อมิให้เกิดรอยร้าวสามารถที่กระทำได้ด้วยการตรวจความแน่นของพื้นที่รองรับและแบบหล่อก่อนที่จะเทคอนกรีต การทรุดหรือจมตัวของวัสดุผสมหยาบในเนื้อคอนกรีต (Settement) รอยร้าวชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากส่วนผสมของคอนกรีตเหลวเกินไป ดังนั้นในช่วงเวลาที่คอนกรีตกำลังก่อตัวอยู่ วัสดุผสมจำพวกหินและทรายก็ยังจมอยู่เบื้องล่างเรื่อยๆ ถ้ามีวัสดุขวางกั้นอยู่ เช่น เหล็กเสริม ท่อสายไฟ หรือท่อน้ำ ส่วนที่จมตัวทรุดตัวอยู่รอบๆ วัสดุนั้น … Read More

การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (PLASTIC SHRINKAGE CRACKING)

การแตกร้าวของถนนนั้นมักจะเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตกำลังแข็งตัวหรือเป็นที่รู้จักกันในเชิงวิชาการคอนกรีตว่า การแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก (Plastic Shrinkage Cracking) ซึ่งนอกจากมีโอกาสสูงที่จะเกิดกับงานถนนแล้วยังเกิดกับงานประเภทพื้นที่อยู่กลางแจ้งอื่นได้อีกด้วย อาทิ พื้นนอาคาร, ดาดฟ้าและลานประเภทต่างๆ เป็นต้น การแตกร้าวในลักษณะน้ีจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต่างกับการแตกร้าวเนื่องจากคอนกรีตหดตัวแบบแห้งซึ่งจะเป็นเส้นค่อนข้างตรง และยาว ที่มักจะเกิดข้ึนเมื่อไม่มีการตัดรอยต่อที่ถูกต้อง สาเหตุของการแตกร้าวเนื่องจากการหดตัวแบบพลาสติก การที่คอนกรีตเกิดการแตกร้าวแบบนี้มีสาเหตุมาจากคอนกรีตหดตัวอย่างเฉียบพลันในช่วงที่ยังอยู่ในสภาพยังไม่แข็งตัว (Pre-hardened Stage) ซึ่งคอนกรีตในช่วงนี้แทบจะไม่มีความสามารถในการรับแรงเค้นที่เกิดจากแรงดึง (Tensile Stress) ซึ่งแรงเค้นเกิดขึ้นขณะที่คอนกรีตมีการหดตัวเมื่อแรงเค้นนี้เกิดมากเกินกว่าที่คอนกรีตสามารถรับได้ก็จะเกิดการแตกร้าว   การป้องกันการแตกร้าวแบบ Plastic Shrinkage ในส่วนของผู้บริโภค สามารถทำได้หลายแนวทาง ดั้งนี้ แนวทางแรกคือการวางแผนงานให้มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างสูงสุด และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอกับปริมาณและอัตราการเทของคอนกรีตที่สั่ง รวมถึงการจ้างแรงงานที่มีความชำนาญในจำนวนที่พอเพียง เพื่อให้การเทคอนกรีตเป็นไปอย่างรวดเร็วและคอนกรีตยังคงอยู่ในสภาพสด แนวทางที่สองคือการเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับรถโม่ที่จัดส่งคอนกรีต เพื่อให้รถใช้เวลาในการรับส่งน้อยที่สุด หากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความต้องการคอนกรีตในปริมาณที่สูงและภายใน โครงการมีเนื้อที่ว่างพอ ควรพิจารณาอนุญาตให้บริษัทฯสามารถติดตั้งโรงงานผสมคอนกรีตภายในบริเวณ โครงการเป็นการชั่วคราว แนวทางที่สามคือการควบคุมการทำงานให้เป็นไปตาม มาตรฐานและข้อกำหนด … Read More

คอนกรีตหมดอายุ เราจะรู้ได้ยังไง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงาน แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิตเสร็จ ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแล้วจะต้องเร่งเทคอนกรีตให้ทันภายในเวลา 2 ชั่วโมง เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ ดังนั้นก่อนจะสั่งซื้อคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อมาใช้ในงานก่อสร้าง ควรตรวจสอบระยะทาง และระยะเวลาในการเดินทางให้ดี รวมไปถึงควรเตรียมพื้นที่หน้างานและคนงานให้พร้อม ไม่เช่นนั้นแล้วยังไม่ทันจะเท คอนกรีตอาจแข็งตัวคาโม่รถปูนได้ ปล. นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมรถปูนที่เห็นกันบนท้องถนนถึงต้องขับกันเร็วมาก เพราะต้องวิ่งแข่งกับเวลาเนื่องจากคอนกรีตที่อยู่ภายในโม่รถปูนนั้นมีอายุได้ไม่นานนั่นเอง

คอนกรีตผสมเสร็จ ควรเทให้เสร็จภายใน 2 ชั่วโมง

คอนกรีตผสมเสร็จ (Ready-Mix Concrete) เป็นคอนกรีตที่ผสมเสร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้วลำเลียงใส่รถเพื่อจัดส่งให้กับหน่วยงานก่อสร้างต่างๆ แต่การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งจะต้องส่งให้ถึงสถานที่ก่อสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หากส่งล่าช้าจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของคอนกรีตผสมเสร็จ หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถนำคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมาใช้งานได้ คอนกรีตผสมเสร็จจะมีอายุประมาณ 2 ชั่วโมงนับตั้งแต่ผลิต ก็จะเริ่มทำการเซ็ตตัว โดยปกติแพล้นท์คอนกรีตจะไม่ยอมให้การเทคอนกรีตล่าช้ากว่า 2 ชั่วโมงอยู่แล้ว เนื่องจากว่าถ้าช้ากว่านี้ปูนก็จะเริ่มติดในรถโม่ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการแยกปูนออกมาอีกด้วย และจะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จไปให้กับลูกค้ารายอื่นไม่ทันอีกด้วย การขนส่งคอนกรีตผสมเสร็จ จะต้องมีใบจ่ายสินค้าแนบมาด้วย เพื่อบอกรายละเอียดของคอนกรีตผสมนั้นๆ เช่น ประเภทของคอนกรีต กำลังอัดของคอนกรีต ค่ายุบตัวของกอนกรีต วันเวลาที่ผลิต เวลาที่รถโม่ออกจากโรงงาน และหากมีการเติมน้ำยาหน่วงการเซ็ตตัวของคอนกรีต ควรจะต้องระบุเอาไว้ด้วย การเทคอนกรีตควรเลือกเวลาที่อุณหภูมิของอากาศไม่ร้อนมาก ควรเทตอนเช้า หรือหากทำได้ก็เทตอนช่วงหัวค่ำ ซึ่งจะช่วยป้องกันคอนกรีตสูญเสียน้ำเร็วเกินไป โดยเฉพาะในช่วงเวลาครึ่งชั่วโมงแรกถึงหกชั่วโมงต่อมา และควรจะต้องทำการบ่มคอนกรีตด้วย  

คอนกรีตที่ดีต้องบ่ม (ให้สุก)

เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้เองแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าต้องการให้คอนกรีตมีคุณภาพท่ีดี มีความแข็งแรงทนทานและใช้งานได้นานต้องทำการบ่มคอนกรีตเสียก่อน ซึ่งเมื่อผสมคอนกรีตต้องใช้น้ำในการผสม จะทำให้เกิดปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ เรียกว่าปฏิกิริยาไฮเดรชันทำให้คอนกรีตแข็งตัวและรับกำลังได้ ปกติแล้วคอนกรีตสามารถแข็งตัวได้ภายใน 5 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการผสมน้ำ และมีกำลังเพิ่มข้ึนอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มกำลังของคอนกรีตไม่สามารถแยกได้ด้วยการดูจากตาเปล่า คือเราไม่สามารถบอกได้ว่าคอนกรีตที่เทพื้น กับคอนกรีตที่เทคาน ส่วนใดให้กำลังสูงกว่า การจะบอกว่าคอนกรีตส่วนไหนให้กำลังสูงกว่าต้องนำไปทดสอบโดยการกดให้แตก แล้ววัดว่าคอนกรีตดังกล่าวรับกำลังได้มากน้อยเพียงใด แม้ว่าคอนกรีตต้องการน้ำในส่วนผสมเพื่อทำปฏิกิริยากับปูนซีเมนต์ให้มากและสมบูรณ์ท่ีสุด แต่ถ้าใส่น้ำในส่วนผสมมากเกินไปจะทำให้มีน้ำส่วนเกินจากการทำปฏิกิริยา และเมื่อน้ำดังกล่าวระเหยออกจากตัวคอนกรีตจะทำให้เกิดช่องว่างภายในข้ึน ส่งผลให้การรับกำลังลดลง ดังนั้นจึงต้องพยายามที่จะใส่น้ำในส่วนผสมให้พอเพียงกับการทำปฏิกิริยาของปูนซีเมนตเ์ท่านั้น การไม่บ่มคอนกรีตมีข้อเสียมากมายและเป็นอันตรายต่อคอนกรีต คอนกรีตท่ีไม่บ่ม นอกจากทำให้มีกำลังอัดท่ีต่ำกว่าแล้วยังทำให้สารเคมีหรือสารอันตรายต่างๆ ซึมเข้าสู่เน้ือคอนกรีตง่ายข้ึน ทำใหเ้หล็กเสริมเป็นสนิมได้ง่าย และคอนกรีตแตกร้าวเสียหายในที่สุด คอนกรีตที่ขาดการบ่มหรือบ่มไม่เต็มที่พบว่ามีการ สึกกร่อนเนื่องจากการขัดสี เช่น จากล้อรถยนต์สูงกว่าคอนกรีตที่บ่ม เพราะการต้านทานการสึกกร่อนของคอนกรีตจะข้ึนกับกำลังอัดของคอนกรีตเป็นหลัก การบ่มทำให้ปฏิกิริยาไฮเดรชันของปูนซีเมนต์เกิดข้ึนได้ต่อเนื่อง โครงสร้างของเน้ือซีเมนต์จะแน่นข้ึนและคอนกรีตจะมีความแข็งแรง ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี … Read More

คอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE)

คอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete) คือ คอนกรีตที่มีการเพิ่มสมรรถภาพการรับน้ำหนัก โดยการนำเหล็กเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถที่ขาดไปของคอนกรีต โดยเฉพาะในเรื่องความเปราะและการรับแรงดึง กลไกสำคัญที่ทำให้เกิดกำลังคือ คอนกรีตรับแรงอัดและเหล็กเสริมรับแรงดึง เนื่องจากคอนกรีตมีความแข็งแรงในการรับแรงอัดได้ดีแต่มีความอ่อนแอในการรับแรงดึง ดังนั้นเมื่อรับน้ำหนักจะเกิดการแตกร้าวจากการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งทำให้เกิดหน่วยแรงดึงเกินกว่าที่คอนกรีตจะรับได้ ในคานคอนกรีตโมเมนต์ดัดที่เกิดขึนบนหน้าตัดจะถูกต้านทานโดยคู่ควบแรงอัด-แรงดึงในคอนกรีต คานดังกล่าวจะวิบัติอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดรอยร้าวครั้งแรก ในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็กเส้นจะถูกเสริมเข้าไปในคอนกรีตเพื่อรับแรงดึงทำหน้าท่ีแทนคอนกรีตหลังเกิดการแตกร้าว เพื่อทำหน้าท่ีเป็นแรงคู่ควบร่วมกับแรงอัดในคอนกรีตในการต้านทานโมเมนต์ดัดท่ีเกิดจากน้ำหนักบรรทุก เหล็กและคอนกรีตท้างานร่วมกันอย่างดีเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กและคอนกรีตมีเพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดการเลื่อนไถลของเหล็กเสริม ส่วนผสมคอนกรีตที่พอเหมาะจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำซึมผ่านมาทำให้เกิดการกัดกร่อนในเหล็กเสริม อัตราการขยายตัวเนื่องจากอุณหภูมิท่ีใกล้กันของเหล็กและคอนกรีตทำให้เกิดแรงน้อยมากระหว่างคอนกรีตและเหล็กภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

การเทลีน (LEAN CONCRETE) เรื่องพื้นฐานงานก่อสร้างที่ไม่ควรละเลย

+สอบถามราคาเสาเข็มได้ที่ เทลีนหรือการเทคอนกรีตเพื่อปรับผิวหน้าดิน นิยมทำเพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รองรับการผูกเหล็กและการเทคอนกรีตในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สำหรับเทรองก้นหลุมป้องกันความสกปรกแก่คอนกรีตและเหล็กเสริม เช่น ดินโคลน น้ำใต้ดิน ช่วยให้ทำงานได้สะดวก ไม่เฉอะแฉะ การเทลีน (Lean Concrete) ยังช่วยให้ทำงานได้สะดวกขึ้นด้วย เช่นการผูกเหล็กเพื่อทำโครงสร้างมีระดับติดกับพื้นดินอย่างเช่นฐานรากหรือคานคอดิน เนื่องจากเหล็กเสริมควรจะมีคอนกรีตหุ้มอยู่ไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมอีกด้วย

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต…มีสาเหตุมาจากอะไร จะแก้ปัญหาได้โดยวิธีไหน

การเกิดฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีต เป็นการสะสมของวัสดุที่มีลักษณะเป็นผงหรืออนุภาคขนาดเล็กอยู่ที่บริเวณผิวหน้าของคอนกรีตที่แข็งตัวแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างคอนกรีตประเภทพื้นและผิวถนน โดยจะเกิดภายหลังจากการใช้งานหรือถูกขัดสีไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง สาเหตุที่ทำให้ผิวหน้าของคอนกรีตเป็นฝุ่น ฝุ่นที่ผิวหน้าคอนกรีตมีสาเหตุมาจากการที่ผิวหน้าคอนกรีตมีความอ่อนแอ ไม่สามารถต้านทานการขัดสีซึ่งเกิดขึ้นโดยปกติหรืออาจถูกขีดข่วนด้วยวัสดุที่มีความแข็งหรือจากการกวาดพื้น อนุภาคของส่วนละเอียดที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีต ทำให้อนุภาคของส่วนละเอียดนี้หลุดร่อนออกมา โดยมีสาเหตุหลักดังนี้ การเลือกใช้คอนกรีตไม่ถูกกับประเภทของงาน เช่น เลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำเกินไป และมีความสามารถต้านการขัดสีได้น้อย มีปริมาณน้ำในส่วนผสมคอนกรีตที่มากเกินไปหรือมีการเติมน้ำที่หน้างาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเยิ้มน้ำขึ้นที่ผิวหน้าคอนกรีต ซึ่งทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก ทำให้ความทนต่อการขัดสีลดลงอย่างมาก การแต่งผิวหน้าคอนกรีตที่เร็วเกินไป ทำให้น้ำที่จะเยิ้มขึ้นมาที่ผิวหน้าถูกดันกลับเข้า ไปในเนื้อคอนกรีตขณะแต่งผิว ซึ่งก็ทำให้อัตราส่วนระหว่างน้ำและวัสดุเชื่อมประสานที่ผิวหน้าคอนกรีตสูงขึ้นมาก น้ำส่วนเกินจากการแต่งผิวหน้าคอนกรีต จากการฉีดพรมน้ำลงบนพื้นเพื่อเพิ่มความสะดวก ในการขัดหน้า ไม่มีการป้องกันคอนกรีตที่ยังไม่แข็งตัวขณะฝนตก การเทคอนกรีตบนพื้นดินที่มีการดูดซับต่ำหรือมีการปูแผ่นพลาสติก ทำให้ปริมาณน้ำที่เยิ้มขึ้นมากที่ผิวหน้ามากกว่าปกติ การเกิดคาร์บอเนชั่น (Carbonation) ท่ีผิวหน้าเนื่องจากไม่มีอากาศถ่ายเทและมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูง แต่สาเหตุที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมาจากสองข้อแรก คือการเลือกใช้คอนกรีตที่มีกำลังอัดต่ำหรือปานกลางมาใช้สำหรับเทงานถนนหรืองานพื้น (กำลังอัด 180-240 กก./ตร.ซม.) ซึ่งมีความสามารถต้านการขัดสีน้อยอยู่แล้ว และการเติมน้ำที่หน้างานเพื่อเพิ่ม ความสะดวกในการเทคอนกรีต ซึ่งจะส่งผลให้คอนกรีตมีความสามารถต้านการขัดสีลดลงไปอีก … Read More

1 2