ข้อควรปฎิบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปั๊มคอนกรีต

ศูนย์จัดส่งคอนกรีต เมื่อต้องใช้ปั๊มคอนกรีตต้องระบุและสั่งคอนกรีตสำหรับใช้กับปั๊มคอนกรีต ต้องกำชับผู้ควบคุมเครื่องชั่งว่า คอนกรีตนั้นใช้กับปั๊มคอนกรีต และรู้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ก่อนเริ่มจัดส่งคอนกรีตต้องตรวจสอบกับหน่วยงานก่อสร้างว่าติดตั้งปั๊มคอนกรีต และเดินท่อส่งคอนกรีตเรียบร้อยและพร้อมที่จะเทหรือยัง ต้องรู้จำนวนที่เทล่วงหน้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบ จัดรถโม่ให้เพียงพอ เพื่อการจัดส่งได้ต่อเนื่อง ผู้ควบคุมเครื่องชั่ง ต้องรู้ส่วนผสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต ซึ่งมักใช้ซีเมนต์และทรายมากกว่าปกติ ต้องมีวัตถุดิบเพียงพอ เพื่อให้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัวและคุณภาพสม่ำเสมอ ต้องคอยสังเกตความชื้นของทรายเปลี่ยนไปหรือไม่ โดยต้องปรับอัตราส่วนผสมให้ถูกต้องตามสถานการณ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่อัตราส่วนผสมของทรายในคอนกรีตต้องถูกต้องอยู่เสมอ ต้องคอยบันทึกปริมาณน้ำที่ใส่ในคอนกรีตอยู่เสมอ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสภาพ หิน ทราย ต้องสังเกตคอนกรีตทุกครั้ง หลังจากผสมเสร็จแล้วว่ามีค่ายุบตัว และความขันเหลวถูกต้อง พนักงานขับรถโม่ ควรผสมคอนกรีตให้เข้ากันทุกครั้งก่อนออกจากโรงงานคอนกรีต ต้องคอยสังเกตค่ายุบตัวของคอนกรีตก่อนคายออกจากโม่ ต้องสำรวจทางเข้าเทคอนกรีตก่อนเข้าเทจริง ๆ และควรตรวจสอบว่ามีพื้นที่ให้รถโม่ 2 คันเข้าเทพร้อมกันหรือไม่ ควรหมุนโม่ผสมคอนกรีตซ้ำ ๆ ก่อนคายคอนกรีตออกจากโม่ และระหว่างรอเทคอนกรีตให้หมุนโม่ช้า ๆ อยู่ตลอดเวลา … Read More

เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ทาวเวอร์เครน

เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ทาวเวอร์เครน ได้เปรียบ ปั๊มคอนกรีต ทาวเวอร์เครน 1. ความรวดเร็ว 1.เทได้รวดเร็ว และจำนวนมาก 1.เทได้ช้ากว่า 2. ความสามารถในการเท 2.เทได้บริเวณกว้าง 2.เทได้บริเวณจำกัดเท่ากับรัศมีของ CRANE 3. พื้นที่ติดตั้ง 3.ใช้พื้นที่น้อยในการติดตั้งเครื่องมือ 3.ใช้พื้นที่มาก สำหรับตั้งเครื่องมือ เสียเปรียบ ปั๊มคอนกรีต ทาวเวอร์เครน 1. ความสามารถของเครื่องมือ 1.ใช้ได้แต่คอนกรีตอย่างเดียว 1.ใช้งานอย่างอื่นได้อีก เช่น ยกวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ และใช้ได้ในความสูงมากกว่า 2. ความสิ้นเปลืองซีเมนต์ 2.ต้องใช้ส่วนผสมซีเมนต์มากกว่าปกติ 2.ไม่ต้องผสมซีเมนต์เพิ่มจากปกติ 3. การเตรียมการ 3.ต้องใช้เวลาเตรียมการมาก และ เสียเวลาในการตั้งปั๊มและเดินท่อ 3.ใช้เวลาเตรียมการน้อย … Read More

เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้ลิฟท์

เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน ได้เปรียบ ปั๊มคอนกรีต ลิฟท์ 1. ความสะดวกรวดเร็ว เทได้รวดเร็ว สะดวก ไม่ต้องใช้คนคอยขนถ่ายอีกที เทได้ที่จุดต้องการ ต้องมีคนมาคอยรับที่ลิฟท์อีกทีหนึ่ง แล้วค่อยนำไปจุดที่ต้องการ 2. แรงงาน ประหยัดแรงงาน ต้องใช้คนงานคอยขนถ่ายคอนกรีตเพิ่มอีก 3. การสิ้นเปลืองคอนกรีต โดยเปล่าประโยน์ สิ้นเปลืองน้อย สิ้นเปลืองมาก เสียเปรียบ ปั๊มคอนกรีต ลิฟท์ 1. ความสามารถของเครื่องมือ ใช้เทคอนกรีตอย่างเดียว สามารขนส่งวัสดุอื่น ๆ เช่น ไม้แบบ เครื่องมือต่าง ๆ ได้อีก 2. ความสิ้นเปลืองซีเมนต์ ต้องใช้ส่วนผสมซีเมนต์มากกว่าปกติ ไม่ต้องเพิ่มซีเมนต์จากปกติ   ข้อมูลจาก … Read More

เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน

เปรียบเทียบการใช้ปั๊มคอนกรีตกับการใช้คนงาน ได้เปรียบ ปั๊มคอนกรีต คนงาน 1. ความสะดวกรวดเร็ว เทได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา และปริมาณมากกว่า เทได้ช้าและปริมาณน้อย 2. แรงงาน ประหยัดแรงงาน เปลืองคนงานมาก ในการเทคอนกรีต จำนวนมากๆ และควบคุมยาก 3. การสิ้นเปลืองคอนกรีต โดยเปล่าประโยน์ สิ้นเปลืองคอนกรีตน้อยกว่าเพราะ ไม่มีการหกหล่นระหว่าง การขนส่ง แม้จะมีบางส่วนเหลือค้างบ้าง สิ้นเปลืองคอนกรีตมากกว่า เวลาขนส่งมีการหกหล่น เสมอ 4. ความสามารถ ในการเทคอนกรีต เทได้ทุกจุดของโครงสร้าง บางจุดของโครงสร้างเทลำบาก เช่น เสาสูงๆ เสียเปรียบ ปั๊มคอนกรีต คนงาน 1. ความเหมาะสมสำหรับงาน ไม่เหมาะสำหรับงานเล็กๆ … Read More

คอนกรีตสำหรับงานปั๊มคอนกรีต

ส่วนผสมของ คอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต เราจะมาพิจารณาส่วนผสมของคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิน, ทราย, ซีเมนต์,และส่วนที่เป็นของเหลวคือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมที่กล่าวนี้ น้ำเป็นส่วนผสมเดียวที่สามารถปั๊มได้ แต่เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสมอื่น ๆ คุณสมบัติของคอนกรีตที่จะสามารถปั๊มได้ ต้องมีความเหลวที่เหมาะสม คอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับนำไปปั๊ม ควรจะมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 7.5-12.5 ซม. ถ้าค่า ยุบตัวน้อยเกินไปคอนกรีตจะปั๊มยาก และต้องใช้แรงดันสูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียคือท่อสึกหรอเร็ว และปั๊มเสียได้ง่าย ถ้าค่ายุบตัวมากเกินไป คอนกรีตมีแนวโน้มที่จะเกิดการแยกตัว ต้องมีปริมาณส่วนละเอียดเพียงพอ ส่วนละเอียดในที่นี้หมายถึง ทรายและปูนซีเมนต์ จะต้องมีมากพอที่จะไปอุดช่องว่าง ระหว่างหิน เพื่อให้เนื้อคอนกรีตมีแรงต้านภายในพอที่จะไม่ก่อให้เกิดการแยกตัว ส่วนผสมคอนกรีตที่ทำให้ปั๊มได้ง่าย … Read More

เมื่อไรควรใช้ปั๊มคอนกรีต

การนำปั๊มคอนกรีตไปใช้งาน ควรใช้ปั๊มคอนกรีตกับสถานการณ์ดังต่อไปนี้ การขาดแคลนแรงงาน เวลาก่อสร้างมีจำกัด การเทคอนกรีตจำนวนมาก สถานที่เทคอนกรีต ยากต่อการลำเลียงคอนกรีตโดยวิธีอื่น มีการจัดส่งคอนกรีตอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ คนงานมีความรู้ ประสบการณ์และมีการวางแผนงานที่ดี ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ปั๊มคอนกรีต

ความรวดเร็วในการเทคอนกรีต ผู้รับเหมาสามารถเลือกขนาดและจำนวนปั๊มให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้ ในขณะที่ถ้าใช้วิธีการอื่น เช่นการใช้ทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ อัตราการเทคอนกรีตจะถูกจำกัดด้วยทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ ความสะดวกในการเท สามารถวางตัวปั๊มไว้บริเวณที่รถคอนกรีตผสมเสร็จเข้าได้สะดวกและต่อท่อไปยัง บริเวณที่จะเทคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้สะดวก การตกแต่งผิวคอนกรีตจะสิ้นเปลืองน้อย เนื่องจากคอนกรีตที่สามารถใช้ได้กับปั๊มคอนกรีตนั้น จะต้องมีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ผิวของคอนกรีตที่เทโดยปั๊มคอนกรีตนั้นค่อนข้างเรียบ และไม่สิ้นเปลืองในการฉาบผิวหลังจากการถอดแบบแล้ว ค่าแรงงานในการเทจะน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากการเทคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต จะใช้คนน้อยกว่าการเทคอนกรีต โดยวิธีอื่น ๆ และยังสามารถเทได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าอีกด้วย เป็นผลให้ค่าแรงงานในการเทน้อยลง ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดจะลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่รวดเร็วของปั๊มคอนกรีต ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดลดลง ผู้รับเหมาก่อสร้างจะได้รับค่าจ้างเร็วขึ้น ลดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะต้องเสียไป สามารถรับงานได้มากขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน คุณภาพของคอนกรีตในโครงสร้างดี ซึ่งเป็นผลมาจากคอนกรีตที่เทในแบบมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอและรวดเร็ว ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค

ประเภทของปั๊มคอนกรีต

ปั๊มลาก (Trailer Pump) ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานรถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไป สู่หน้างานก่อสร้างหลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก ปั๊มโมลี / ไลน์ปั๊ม (Moli Pump / Line Pump) ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ คือการนำเอาปั๊มลากมาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ โดยมีจุดบรรทุกไว้วางท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง ปั๊มบูม (Boom Pump) ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อส่ง จะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก … Read More

ปั๊มคอนกรีตในประเทศไทย

ปั๊มคอนกรีตเริ่มเข้า มามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย ในปี พ.ศ.2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) 7 เครื่องที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (STATIONARY CONCRETE PUMP) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา ปั๊มคอนกรีตได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานปั๊มคอนกรีตมากขึ้น มีการนำน้ำยาผสมคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม มีผู้ชำนาญในการใช้ปั๊มคอนกรีตมากขึ้น ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น … Read More

ปั๊มคอนกรีต คืออะไร

ปั๊มคอนกรีต (CONCRETE PUMP) คืออะไร ปั๊มคอนกรีต คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็น ,ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องการในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือใน ที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่น รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย วิวัฒนาการของปั๊มคอนกรีต แนวความคิดเกี่ยวกับลำเลียงคอนกรีตผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า หลังจากปี พ.ศ.2476 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2484)ได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการก่อสร้างบ้าง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะท่อที่ใช้มีขนาดใหญ่ คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง … Read More