เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนาม

เครื่องมือ และ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการทดสอบดินในสนาม 1. เครื่องมือในการทำ TRIAL PIT TEST PIT เป็นเครื่องมือที่ใช้การขุดหลุมโดยใช้แรงงานของคนเป็นหลัก ซึ่งหาได้ง่ายทั่วๆ ไป นิยมใช้กับดินที่ไม่แข็งมากนัก และในความลึกที่ค่อนข้างตื้น ซึ่งจะมีการรบกวนดินที่ค่อนข้างน้อย สามารถเห็นการเรียงตัวของชั้นดินได้โดยง่าย แต่มักพบปัญหาคือ ระดับของน้ำใต้ดินหากว่ามีการขุดที่ลึกกว่า 2 ม. โดยเฉพาะดินทรายทซึ่งจะมีการพังทลายของหลุมเจาะที่ง่ายกว่าดินชนิดอื่นๆ ด้วยเหตุผลข้างต้นเราจึงนิยมใช้วิธีการทดสอบนี้แค่ในการทดสอบดินขั้นต้นเท่านั้น 2. เครื่องมือในการทำ HAND AUGER BORING เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย และอาศัยแรงหมุนของ AUGER เป็นหลัก เครื่องมือชนิดนี้นิยมใช้อยู่ด้วยกันสองชนิด คือ HELICAL AUGER กับ IWAN หรือ POST-HOLE … Read More

ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES

ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับ โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง หรือ SOIL RETAINING STRUCTURTES จุดประสงค์ของการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพัง คือ การป้องกันการเคลื่อนตัวของมวลดิน ไม่ให้ดินเกิดการเคลื่อนที่เข้ามาสู่ตัวโครงสร้างจนโครงสร้างเกิดการวิบัติขึ้น ทั้งนี้การประยุกต์ใช้โครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพังในทางวิศวกรรรม เช่น งานดินถม งานดินขุด งานสะพาน งานโครงสร้างเพื่อป้องมิให้น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนมากแล้วโครงสร้างป้องกันไม่ให้ดินพังนั้นมักที่จะก่อสร้างขึ้นในรูปแบบของกำแพงหรือ WALL ที่จะทำหน้าที่ในการกันดิน โดยวัสดุที่นิยมถูกนำมาสร้างมากที่สุดก็คือ คอนกรีต และ เหล็ก ตามลำดับ โดยจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1. โครงสร้างกำแพงกันดินซึ่งจะอาศัยกลไกจากน้ำหนักของตัวเองในการรับแรง หรือ GRAVITY WALL สาเหตุที่ชื่อของกำแพงชนิดนี้คือ GRAVITY WALL นั่นเป็นเพราะว่า เสถียรภาพของกำแพงกันดินชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของตัวมันเองเป็นหลัก ซึ่งโดยมากแล้วการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันดินชนิดนี้จะก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองค่อนข้างมาก … Read More

ความรู้เรื่องวิศวกรรมความปลอดภัย

ความรู้เรื่องวิศวกรรมความปลอดภัย ในความเป็นจริงแล้ว วิศวกรรมความปลอดภัยนั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องเฉพาะกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธาเพียงสาขาเดียวเท่านั้น แต่ศาสตร์ทางด้านนี้ถือเป็นสาขาวิชาการหนึ่งที่มุ่งเน้นทำการศึกษา และทำการจัดการเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของการทำงาน โดยที่จะเน้นไปที่การผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก็อาจจะครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของอุปกรณ์ในการผลิต ในการติดตั้ง รวมไปถึงในขั้นตอนและวิธีการทำงาน อีกทั้งยังเป็นหลักสูตรที่พูดถึงเรื่องของการประเมินความเสี่ยงในเชิงคณิตศาสตร์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ สาขาวิศวกรรมความปลอดภัยนั้น จะเน้นรูปแบบของการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยที่จะให้สอดคล้องกันกับระดับที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของงานนั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้วหากเราจะสามารถทำการควบคุมหรือจำกัดการเกิดของอุบัติเหตุได้ เพราะวิธีการนี้เป็นวิธีการที่เราจะทำการ “ป้องกัน” มิให้เกิดอันตรายขึ้น แทนที่จะเป็นการ “แก้ไข” ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งการดำเนินการทางด้าน วิศวกรรมความปลอดภัยนี้ ยังเป็นการช่วยลดโอกาสที่จะเกิดเหตุอาการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุต่างๆ ในการทำงานในขั้นตอนต่างๆได้อีกด้วย ซึ่งก็อาจจะรวมถึงอาการเจ็บป่วยหรือการสูญเสียทรัพย์สินต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมมิให้เกิดเหตุภัยอันตรายต่างๆ ก่อนที่เหตุภัยอันตรายนั้นๆ จะพัฒนาตัวเองหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการของการก่อสร้างไป ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่า หากต้องมานั่งทำการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดจากกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อได้รู้จักกันกับบทบาทและหน้าที่ของ วิศวกรรมความปลอดภัย ว่ามีความสำคัญต่อการทำงานก่อสร้างมากขนาดไหน เมื่อจะต้องไปทำงานตามสถานที่ก่อสร้างต่างๆ จะต้องทำตามกฎของความปลอดภัย … Read More

การพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสา

การพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสา ในการพิจารณาเรื่องขนาดของโครงสร้างเสานั้นเราควรทำการพิจารณาจาก 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ (1) ขนาดจำนวนชั้นของอาคารที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ หากอาคารเป็นเพียงอาคาร 1 ถึง 2 ชั้น อาจจะทำการออกแบบให้โครงสร้างเสานั้นมีขนาดปกติ กล่าวคือ อาจจะเป็นขนาดของเสาที่เล็กที่สุด คือ 200×200 มม. แต่ยิ่งอาคารมีขนาดจำนวนชั้นที่มากขึ้นเท่าใด แสดงว่าน้ำหนักในแนวดิ่ง และแนวราบ ที่เสาต้นนี้จะต้องรับก็จะมีขนาดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นขนาดเสาของเราก็จะยิ่งต้องมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่านั้น (2) ขนาดความยาวของช่วงคานที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ สาเหตุที่ต้องพิจารณาประเด็นนี้ด้วยเพราะว่าลักษณะของอาคารโดยทั่วๆไปในบ้าน มักจะทำการออกแบบโดยใช้ระบบโครงสร้างเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กต้านทานแรงดัด (RC MOMENT FRAME) เป็นหลัก และหากว่าอาคารนั้นมีขนาดความยาวของช่วงคานที่มีค่ามาก ก็จะทำให้เกิดแรงดัดแบบไม่สมดุลขึ้นในเสา (UNBALANCE MOMENT) ในปริมาณที่ค่อนข้างมาก ดังนั้นขนาดเสาของก็จะยิ่งต้องมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย (3) ขนาดของน้ำหนักบรรทุกจรใช้งาน ที่เสาต้นนั้นจะต้องรับ … Read More

การทดสอบเสาเข็ม

การทดสอบเสาเข็ม ประเภทของการทดสอบเสาเข็มสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการหลักๆ คือ 1. การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม (PILE INTEGRITY TEST) โดยวิธี SEISMIC TEST ซึ่งข้อจำกัดของการทดสอบโดยวิธีนี้ คือ ใช้ได้เฉพาะกับ เสาเข็มเจาะ หรือ เสาเข็มตอกที่มีจำนวนท่อนเพียง 1 ท่อน เท่านั้น สาเหตุเพราะ ในขั้นตอนของการทดสอบจะอาศัยการสะท้อนของคลื่นที่ถูกส่งผ่านลงไป และให้คลื่นนั้นสะท้อนกลับมา เพื่อทำการอ่านค่า ซึ่งหากเป็นเสาเข็มที่มีจำนวนหลายท่อนต่อแล้วเราจะพบว่าที่รอยต่อของเสเข็มเหล่านั้นจะมีแผ่นเหล็กเชื่อมต่ออยู่ทุกๆ รอยต่อ ดังนั้นพอคลื่นที่เราส่งลงไปเจอแผ่นเหล็กนี้เข้าก็จะสะท้อนกลับมาในทันที ทำให้ค่าที่อ่านได้จากเครื่องทดสอบจะไม่ใช่สถานะจริงๆ ที่เสาเข็มนั้นควรจะเป็น การทดสอบความสมบูรณ์เสาเข็มด้วยวิธีการ SEISMIC TEST นี้มีจุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการประเมินสภาพความสมบูรณ์ตลอดความยาวของตัวโครงสร้างของเสาเข็ม การทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบที่สะดวก รวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ จึงถือว่ามีความเหมาะสม และเป็นที่นิยมใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม … Read More

เมื่อตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงไปในดิน จะมีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมหรือไม่

เมื่อตอกเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก ลงไปในดิน จะมีปัญหาเรื่องการเกิดสนิมหรือไม่ สนิมเหล็ก คือสารประกอบระหว่างเหล็กกับออกซิเจน มีชื่อทางเคมีคือ ไฮเดรตเฟอริกออกไซด์ (Fe2O3.XH2O3) ลักษณะเป็นคราบสีแดง ซึ่งไม่สามารถเกาะอยู่บนผิวของเหล็กได้อย่างเหนียวแน่น สามารถหลุดออกไปได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กที่อยู่ชั้นในสามารถเกิดสนิมต่อไปจนกระทั่งหมดทั้งชิ้น กระบวนการเกิดสนิมเหล็กค่อนข้างซับซ้อน โดยมีปัจจัยหลักก็คือ น้ำและออกซิเจน วิธีการป้องกันเหล็กไม่ให้เกิดสนิมมีอยู่หลายวิธี เช่น การเคลือบผิวเหล็ก เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำและอากาศโดยตรง อาจทำได้หลายวิธี เช่น การทาสี แต่จะมีข้อเสียคือ สีที่ทาเคลือบไว้สามารถหลุดออกได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและเกิดสนิมขึ้น เสาเข็มสปันไมโครไพล์ เมื่อนำมาตอกเพื่อใช้เป็นตัวรับน้ำหนักของฐานราก ตัวเสาเข็มจะลงไปอยู่ในดิน ถึงแม้ว่าในดินจะมีน้ำอยู่ แต่กลับไม่มีออกซิเจนที่เป็นสาเหตุของการเกิดสนิมอยู่ด้วย ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าเมื่อนำเอาเสาเข็มสปันไมโครไพล์มาใช้งานจะไม่มีการเกิดสนิมที่เสาเข็มอย่างแน่นอน Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ … Read More

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING)

แรงดันดินใต้ฐานราก (BEARING PRESSURE OF SOIL UNDER ON GRADE FOOTING) แรงดันดินหรือแรงดันแบกทาน (BEARING PRESSURE) ภายใต้ฐานรากนั้นหาได้โดยการตั้งสมมุติฐานให้ตัวฐานรากนั้นเป็นองค์อาคารที่มีความแข็ง (RIGID) และดินใต้ฐานรากนั้นมีคุณสมบัติเป็นวัสดุที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีความยืดหยุ่นตัว (HOMOGENEOUS ELASTIC MATERIAL) ซึ่งเราจะถือว่าดินในบริเวณนี้นั้นถูกตัดขาดออกจากดินโดยรอบฐานรากเนื่องจากแรงดันในดินนี้จะถูกสมมุติให้มีค่าแปรผันโดยตรง กับค่าการเสียรูปทรงของดินแรงดันใต้ฐานราก เนื่องจากน้ำหนักบรรทุกตามแนวแกนใต้ฐานรากนี้จึงถูกสมมุติให้มีลักษณะเป็นแบบแผ่สม่ำเสมอ เพราะดินบริเวณนี้จะถูกอัดอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ในสภาพความเป็นจริงแล้วค่าของการกระจายตัวของแรงดันดินใต้ฐานรากนั้นไม่ได้สม่ำเสมอเสียทีเดียว ทั้งนี้จะขึ้นกับ (1) ความสามารถในการให้ตัวได้ของดิน (FLEXIBILITY) (2) ความลึกของฐานรากจากผิวดิน (DEPTH) (3) ชนิดของดิน (SOIL TYPE) ถึงแม้ว่าแรงดันของดินที่แท้จริงใต้ฐานรากจะไม่ได้มีลักษณะที่มีความสม่ำเสมอตามที่ใช้ในสมมติฐานของก็ตาม แต่สาเหตุที่ในการออกแบบฐานรากรับแรงดันดินที่ต้องรับน้ำหนักตามแนวแกน ทำการสมมุติให้แรงดันดินนี้มีค่าการกระจายตัวที่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นดินชนิดใดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ … Read More

ชนิดของเสาเข็ม

ชนิดของเสาเข็ม ถ้าจำแนกเสาเข็มตามวัสดุที่ใช้ทํา และการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น -เสาเข็มไม้ เสาเข็มไม้ตามปกติเป็นไม้เบญจพรรณ ตัดกิ่งและทุบเปลือกออก ตอนตอกเจาะด้าน-ปลายลง ต้องมีลําต้นตรงไม่ผุหรือมีราขึ้น เสาเข็มไม้จะต้องทุบเปลือกหรือถากเปลือกออกทั้งหมด ตาไม้ต่างๆจะต้องตัดให้เรียบเสมอ ฝั่งของต้นเสาเข็มปลายและหัวเสาเข็มจะต้องเลื่อยตัดเรียบได้ฉากกับลําต้น -เสาเข็มคอนกรีตหล่อสําเร็จ เสาเข็มคอนกรีตหล่อสําเร็จ ตามปกติเรามักจะหล่อเสาเข็มในโรงงานก่อน เมื่อคอนกรีตได้อายุแล้ว ค่อยขนย้าย จากโรงงาน ไปยังสถานที่ก่อสร้าง หรือในบางครั้ง เราอาจหล่อเสาเข็มในบริเวณที่ก่อสร้างเลยก็ได้ -เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforcement Precast Concrete piles) เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กรูปร่างจะเป็นแบบใดก็ได้แล้วแต่จะออกแบบ แต่ส่วนใหญ่ควรให้จุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดทับจุดศูนย์กลางของเสาเข็ม เหล็กเสริมตามยาวต้องมีพอเพียงที่จะรับโมเมนตดัด เนื่องจากการขนส่งและยกตอก ต้องมีอย่างน้อย 4 เส้น เส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรเล็กกว่า 9 มิลลิเมตร สําหรับเหล็กปลอกอาจเป็นปลอกแบบพัน หรือ แบบปลอกเดี่ยวก็ได้ ต้องเสริมบริเวณปลายและโคนเสาให้มาก เพราะทั้งที่โคนและที่ปลายเสาเข็ม … Read More

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดิน เพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุด และรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ 1. แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท 2.แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลายเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกัน Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 … Read More

การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST

การทดสอบเพื่อหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการทดสอบทางอ้อม วิธีการที่จะมีความนิยมนำมาใช้ก็คือ PARALLEL SEISMIC TEST ซึ่งการทดสอบหาค่าขนาดความยาวของโครงสร้างเสาเข็มโดยวิธี PARALLEL SEISMIC TEST นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการที่เราจะต้องมีข้อมูลหรือหากไม่มีข้อมูลใดๆเลย ต้องทำการคาดเดาก่อนว่าเสาเข็มต้นที่เราต้องการจะทำการทดสอบนั้นจะมีความลึกประมาณเท่าใด หลังจากนั้นก็ให้ทำการสร้างหลุมเจาะขึ้นมาโดยให้อยู่ภายในรัศมีไม่เกินประมาณ 1500 มม. จากตำแหน่งของโครงสร้างเสาเข็มที่เราต้องการที่จะทำการทดสอบ ต่อมาเราจะอาศัยการส่งถ่ายสัญญาณในลักษณะคลื่นลงไป ซึ่งเราจะค่อยๆ ทำการส่งผ่านให้คลื่นดังกล่าวนั้นเดินทางลงไปในโครงสร้างฐานรากและโครงสร้างเสาเข็มโดยที่เรามักจะใช้อุปกรณ์จำพวกค้อนกระแทกให้ทำหน้าที่เป็นตัวออกแรงกระแทกเพื่อที่จะได้ส่งสัญญาณคลื่นนี้ลงไป (โดยที่มีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งว่า ด้านบนของโครงสร้างฐานรากหรือโครงสร้างเสาตอม่อนั้นจะต้องมีความต่อเนื่องกันกับโครงสร้างเสาเข็ม) เพื่อให้คลื่นดังกล่าวนั้นสามารถที่จะเดินทางลงไปได้โดยที่มีความต่อเนื่องตลอดเส้นทาง โดยคลื่นก็จะเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางไปยังตัวรับสัญญาณ หรือ HYDROPHONE ซึ่งได้ถูกหย่อนลงไปภายในท่อหลุมเจาะใกล้ๆ กันกับโครงสร้างเสาเข็มที่ถูกเติมน้ำเอาไว้ ที่ระดับของปลายท่อ หากจะอธิบายให้เข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้นก็คือการนำเอาหลักการสร้างคลื่นสะท้อนผ่านโครงสร้างเสาเข็มเพื่อตรวจดูค่าการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบคลื่นสะท้อนกลับที่ปรากฏ และเมื่อสิ้นสุดระยะของโครงสร้างเสาเข็มรูปแบบของคลื่นก็จะมีการเปลี่ยนไป ทำให้ในที่สุดเราก็จะสามารถประเมินหาความยาวของโครงสร้างเสาเข็มออกมาได้นะครับ Miss Spunpile  Bhumisiam (ภูมิสยาม) บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย … Read More

1 2 3