จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุดได้ยังไง เสาเข็มรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม ซึ่งแรงนี้เกิดจากดินที่มารองรับที่ปลายเสาเข็ม แรงนี้จะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินเช่นกัน ตอนเริ่มสร้างบ้าน ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ ในการสร้างบ้านโดยทั่วไปนั้น เสาเข็มที่รับน้ำหนักตัวโครงสร้างหลักของบ้านควรจะตอกให้ลึกจนถึงชั้นดินแข็ง (ชั้นดินแข็งในกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ความลึกประมาณ 21 เมตร) ซึ่งจะช่วยให้เสาเข็มมีแรงต้านได้ทั้ง 2 แบบ และช่วยป้องกันการหรุดตัวของโครงสร้างบ้านในภายหลัง ตอนต่อเติมบ้าน ควรลงเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ การต่อเติมบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการต่อเติมบนโครงสร้างเดิม จึงควรให้วิศวกรมาทำการตรวจสอบรากฐานและโครงสร้างเดิมว่าสามารถรับน้ำหนักในการต่อเติมได้หรือไม่ ถ้าหากว่าส่วนที่ต่อเติมเข้าไปมีน้ำหนักมากจนโครงสร้างเดิมไม่สามารถรับน้ำหนักได้ จะต้องมีการลงเสาเข็มเพื่อเสริมตัวโครงสร้างเดิมด้วย … Read More

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) หินและทราย: ตรวจสอบ GRADATION ตามข้อกำหนดของมวลรวมผสม มอก.398-2524 ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์: ตามข้อกำหนดของ ASTM DESIGNATION c150 TYPE1 หรือ TYPE3 หรือตามข้อกำหนด มอก.15-2524/2517 ประเภท1 หรือประเภท3 ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีต (ULTIMATE COMPRESSIVE STRENGTH OF CONCRETE) ของแท่งทรงกระบอกไม่ต่ำกว่า 500 กก. /ซม2 ตามข้อกำหนด มอก. 398-2524 ค่ากำลังอัดคอนกรีตที่ถ่ายแรงเข้าเนื้อคอนกรีต (COMPRESSIVE STRENGTH OF CONCRETE AT TRANSFER) … Read More

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภูมิสยามซัพพลาย มีกระบวนการดังนี้ ย้ายตัวปั่นจั่นให้เข้าที่ เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน x และ แกน y โดยจะทำการทดสอบกับตัวเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ทดสอบกับตัวปั้นจั่นเพื่อให้แน่ใจว่าได้แนวดิ่งที่ถูกต้องตามที่ต้องการแล้ว และหลังจากนั้นจึงลงมือตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดแล้วจึงนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง แล้วจึงทดสอบด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง หลังจากที่นำเสาท่อนที่ 2 วางจนได้แนวดิ่งที่ตรงกันกับเสาท่อนแรกแล้ว ใช้ cap pile เป็นตัวบังคับไม่ให้เสาท่อนที่ 2 เคลื่อนออกจากตำแหน่ง แล้วจึงทำการลงมือเชื่อมต่อเหล็กที่ขอบของหัวเสาเข็มให้ติดกันโดยเสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกัน จะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน … Read More

การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)

การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ    

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทําการทดสอบได้ในวันเดียว ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกําลังรับน้ําหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม เป็นการทดสอบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย อุปกรณ์วัดสัญญาณ จะวัดสัญญาณและแสดงผลในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแรงเทียบกับเวลาและการเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา โดยอุปกรณ์หลักจะประกอบไปด้วยหัววัดสัญญาณ 2 แบบ ได้แก่ เซนเซอร์ความเครียด (Strain Transducer) เซนเซอร์ความเร็ว (Accelerometer) การทดสอบการรับน้ําหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) ติดตั้ง Strain Transducer และ Accelerometer อย่างละ 2 ชุด จะต้องติดตั้งตําแหน่งบริเวณหัวเสาเข็มบนด้านตรงข้ามซึ่งกันและกัน … Read More

เสาเข็มเหลี่ยมแรงเหวี่ยง สแคว์สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

เสาเข็มเหลี่ยมแรงเหวี่ยง สแคว์สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile) ทางบริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้คิดค้นเสาเข็มชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มมีลักษณะเป็นเสาสี่เหลี่ยม ตรงกลางกลมกลวง มีขนาดหน้าตัด 23 x 23 เซนติเมตร มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการแรงเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง จึงมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 8-10 เซนติเมตร มีความยาวต่อท่อน 1.5 เมตร ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกันโดยใช้วิธีการตอกเสาเข็มชนิดนี้ด้วยปั้นจั่นแบบพิเศษ (Drop Hammer System) เนื่องจากเสาเข็มมีลักษณะกลมกลวงตรงกลางจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคาร ที่พักอาศัย โรงงาน และงานปรับปรุงโครงสร้าง ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) มีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21, 25, 30 เซนติเมตร มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบผลิตโดยใช้กรรมวิธีการแรงเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง จึงมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 8-10 เซนติเมตร มีความยาวต่อท่อน 1.5 เมตร ซึ่งความยาวนี้สามารถเพิ่มได้โดยการนำเสามาเชื่อมต่อกันโดยใช้วิธีการตอกเสาเข็มชนิดนี้ด้วยปั้นจั่นแบบพิเศษ (Drop Hammer System) เนื่องจากเสาเข็มมีลักษณะกลมกลวงตรงกลางจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก และถ้าเสาเข็มที่ใช้มีความยาวมากก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสา ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่ออาคารข้างเคียงได้มาก เสาชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานรากของอาคาร ที่พักอาศัย โรงงาน และงานปรับปรุงโครงสร้าง ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง  

โครงสร้างภายในของเสาเข็ม

โครงสร้างภายในของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) ลักษณะของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม Spun Micro Pile มีลักษณะกลม กลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก ถึงแม้ว่าจะตอกเสาเข็มใช้ความยาวมาก ก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสาเข็ม ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อโครงสร้าง หรืออาคารข้างเคียงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของ บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด นั้นจะมีโครงสร้างภายในเหล็กปลอกรัดหัวเสาเข็มหัวท้ายเหล็ก FB หนา 6 มิลลิเมตร กว้าง 2 นิ้ว ความหนาของคอนกรีตจะอยู่ในช่วง 6-8 เซนติเมตร ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากรูปข้างล่าง โครงสร้างของเสาเข็ม Spun micro pile เป็นเหล็ก 9 มิลลิเมตร เพื่อสำหรับทำเป็นเหล็ก Dowel … Read More

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

เสาเข็มไมโครไพล์เสาเข็มเพื่อการต่อเติม Micro Pile และ Spun Micro Pile เป็นเสาเข็มสำหรับติดตั้ง ต่อเติมอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คุณต้องการ หากคุณเลือกใช้งานสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รับประกันความปลอดภัยจากการใช้งาน ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน โครงสร้างตึก, อาคาร, บ้านเรือน จะยังคงอยู่ไม่ถล่ม ยังคงรับน้ำหนักได้ดี ปลอดภัย เพราะเราเลือกใช้ เสาเข็มเพื่อการต่อเติม Micro Pile และ Spun Micro Pile ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสำหรับการต่อเติมบ้าน ปรับปรุงโรงงาน ทำแท่นรับเครื่องจักร แก้ไขปัญหาอาคารทรุด สินค้าและบริการสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย … Read More

1 2 3